Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5364
Title: การยอมรับการผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกรในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
Other Titles: Adoption of oil palm production according to roundtable on sustainable palm oil standards of farmers in Mueang Krabi district, Krabi Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนันชิดา คิดรอบ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ปาล์มน้ำมัน--ไทย--กระบี่--การผลิต.
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร 2) ความรู้และแหล่งความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นและแรงจูงใจของเกษตรกรต่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน 4) การยอมรับในเชิงความคิดเห็นและเชิงปฏิบัติในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร 6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกระบี่ ปี 2562 จำนวน 2,030 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 186 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 50.29 ปี มีประสบการณ์ในการทำสวนปาล์มน้ามันเฉลี่ย 13.53 ปี มีรายได้จากปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 13,703.49 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 17.28 ไร่ 1) สภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน เกษตรส่วนมากใช้ปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอรา อายุต้นปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 12.44 ปี ส่วนมากมีค่าตอบแทนแรงงานตามข้อตกลงการจ้างงาน เกษตรกรทั้งหมดมีการใช้ปุ๋ย ปริมาณผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันสดเฉลี่ย 3.07 ตันต่อไร่ ส่วนมากไม่มีการจดบันทึกบัญชีฟาร์ม 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะความรู้ด้าน RSPO เป็นมาตรฐานที่ต้องดำเนินการตามวิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) รองลงมาคือความรู้ด้านการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันใหม่ แหล่งที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับน้อย โดยแหล่งความรู้ที่ได้รับมากกว่าแหล่งอื่น ๆ คือ แหล่งความรู้ที่ได้รับจากสื่อกิจกรรม 3) ความคิดเห็นต่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกรด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม แรงจูงใจในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร คือ ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น มีแหล่งรองรับผลผลิตที่แน่นอน และการได้รับความรู้ 4) เกษตรกรยอมรับในเชิงความคิดเห็นและในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนด้านหลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน สิทธิและสภาพแวดล้อมสำหรับลูกจ้างในระดับมาก โดยเฉพาะการไม่ใช้แรงงานจากการบังคับ 5) ในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาระดับปานกลาง โดยเฉพาะปัญหาด้านการผลิต เกษตรกรมีข้อเสนอแนะคือ ควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเพื่อได้รับมาตรฐาน RSPO ส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่ม และส่งเสริมความรู้ในการบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมัน 6) ปัจจัยด้านพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน การได้รับสื่อออนไลน์ ระดับปัญหาด้านความรู้ และด้านการผลิตมีความสัมพันธ์กับการการยอมรับในเชิงความคิดเห็นในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ขณะที่ปัจจัยด้านจำนวนหนี้สิน และระดับปัญหาอื่น ๆ มีความสัมพันธ์กับการยอมรับในเชิงปฏิบัติในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5364
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons