Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5368
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) จังหวัดสระแก้ว
Other Titles: Factors affecting the adoption of fertilizer usage to reduce production costs of Community Soil-Fertilizer Management Center Member in Sa Kaeo Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เมธาพร ขจรศรีวีรวงศ์, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ปุ๋ย--ไทย--สระแก้ว
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ แหล่งที่มาของความรู้และระดับการได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร 2) การยอมรับการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร 3) ความยุ่งยากและความเป็นประโยชน์ของการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร 4) ปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ สมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) จังหวัดสระแก้ว จำนวน 180 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 124 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน การจัดลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรจบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 28.44 ปี จำนวนแรงงานภาคการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 2.09 คน ค่ามัธยฐานขนาดพื้นที่ทำการเกษตร 25 ไร่ ค่ามัธยฐานรายได้ในภาคการเกษตรต่อปี 245,000 บาท ร้อยละ 85.5 เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. 1) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตในระดับมาก โดยได้รับความรู้จากสื่อกลุ่มในระดับมาก จากวิธีการไปศึกษาดูงานมากที่สุด 2) เกษตรกรมีการยอมรับการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตระดับมากที่สุด โดยมีการปฏิบัติมากที่สุด เท่ากัน 3 ประเด็น ได้แก่ การเก็บตัวอย่างดิน การตรวจวิเคราะห์ดินโดยใช้ชุด test kit และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ 3) เกษตรกรมีความคิดเห็นว่าการเก็บตัวอย่างดินมีความยุ่งยากมาก และการใช้วัสดุอินทรีย์ มีความเป็นประโยชน์มากที่สุด 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต พบว่ามี 3 ตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการยอมรับการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ ขนาดพื้นที่ทาการเกษตร และความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต ทั้ง 2 ตัวแปรมีความสัมพันธ์เชิงบวก และความยุ่งยากของการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตมีความสัมพันธ์เชิงลบ 5) เกษตรกรมีปัญหาในประเด็น การใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตมีหลายขั้นตอน ทาให้เกิดความยุ่งยาก เกษตรกร มีความต้องการให้รัฐพัฒนาเครื่องมือหรือวิธีการที่ช่วยลดขั้นตอนการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยมีข้อเสนอแนะในประเด็นการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรได้รับรู้ความเป็นประโยชน์ โดยการศึกษาดูงาน และการอบรมให้ความรู้ เพื่อให้เกิดการยอมรับการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนในการผลิต
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5368
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons