Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/536
Title: บทบาทในอนาคตของชุมชนระดับตำบลในการจัดการเหตุรำคาญจากมลพิษอุตสาหกรรม
Authors: ศริศักดิ์ สุนทรไชย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมทรง อินสว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ ชัยพิพัฒน์, 2497-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มลพิษ--การป้องกันและควบคุม
โรงงานอุตสาหกรรม--แง่สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พยากรณ์และกำหนดบทบาท หน้าที่และภารกิจที่เหมาะสมในอนาคตของชุมชนระดับตำบลในการขัดการเหตุรำคาญที่มีผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรม 2) เสนอแนะรูปแบบ และกลยุทธ์ที่เหมาะสมในอนาคตที่จะส่งเสริมและสนับสบุนการมีส่วนร่วมของชุมชนระดับตำบลในการจัดการเหตุรำคาญที่มีผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอนาคตแบบเดลฟายโดยดำเนินการ 3 รอบ โดยรอบแรกใช้แบบสอบถามความคิดเห็นแบบเปิด แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อจัดทำแบบสอบถามมาตรประเมินค่าในรอบที่ 2 จากความคิดเห็นที่มีความถี่เกินร้อยละ 50 โดยผลที่ได้ในรอบที่ 2 จะนำมาวิเคราะห์หาความสอดคล้องของแต่ละความคิดเห็นและนำเสนอในที่ประชุมระดมสมองรอบที่ 3 เพื่อสรุปผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิและคณะผู้เชี่ยวชาญที่เลือกแบบเจาะจง 6 สาขาได้แก่ สาขาการเมือง สาขาการศึกษา สาขาการพัฒนาชุมชน สาขาการแพทย์และการสาธารณสุข สาขาการบริหารงานทองถิ่น และสาขาสิ่งแวดล้อมและการอุตสาหกรรม จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบเปิด และแบบสอบถามมาตรประเมินค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทค์ โดยความคิดเห็นใดมีความสอดคล้องไม่ต่างกันต้องมีค่าพิสัยระหว่างควอไทลไม่เกิน 1.5 และค่าความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยมไม่เกิน 1.0 ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทหน้าที่และภารกิจที่เหมาะสมในอนาคตของชุมชนระดับตำบลในการจัดการเหตุรำคาญจากมลพิษอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างประกอบด้วยบทบาท หน้าที่และภารกิจขององค์กรภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคผู้ประกอบการ 2) ส่วนรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนระดับตำบลที่เหมาะสมต้องเป็นกระบวนการไตรภาคี โดยใช้กลวิธีหลัก 10 ประการ จาก 7 กลยุทธ์ด้านการพัฒนานโยบาย การบริหารจัดการ การขยายเครือข่ายและกิจกรรม การประสานความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาบุคลากร องค์ความรู้และการวิจัย และด้านสื่อมวลชน ซึ่งบูรณาการเข้าด้วยกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/536
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
79180.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons