Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5379
Title: | การยอมรับของชุมชนท้องถิ่นในกิจกรรมการหมายแนวเขตป่าอนุรักษ์บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ |
Other Titles: | Local communities acceptance of participatory boundary delineation activity of Taboa-huaiyai Wildlife Sanctuary, Nongbuadang District, Chaiyaphum Province |
Authors: | ดุสิต เวชกิจ นิรวัฒน์ วินากร, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี การอนุรักษ์สัตว์ป่า--ไทย--ชัยภูมิ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้มีวีตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของราษฎรที่มีที่ดินทำกินติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ 2) ศึกษาระดับการยอมรับของราษฎรในกิจกรรมการหมายแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) ศึกษาความต้องการของราษฎรในการปรับปรุงกิจกรรมการหมายแนวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทำการสำรวจข้อมูลจากประชากรจำนวน 103 ครัวเรือน ซึ่งเป็นราษฎรทร่มีที่ดินทำกินติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ โดยสัมภาษณ์ประชากรทั้งหมด สถิติท่ีใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สำหรับพรรณนาลักษณะทั่ว ไปของข้อมูล และวิเคราะห์ความต้องการในการปรับปรุงกิจกรรมการหมายแนวเขตโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการศึกษา จากการรวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมด 93 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90.29 โดยเป็นเพศชายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73.12 มีช่วงอายุที่มากที่สุดคือ ช่วงอายุระหว่าง 41 - 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 68.82 การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.82 จำแนกตามบทบาททางสังคม พบว่าไม่มีบทบาท มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.27 รายได้รวมต่อปีมากกว่า 150,000 บาท มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.71 ส่วนใหญ่มีที่ดินที่ครอง 10 - 25 ไร่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.84 ซึ่งระดับการยอมรับกิจกรรมการหมายแนวเขต มีระดับ การยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.84 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 สำหรับความต้องการขอราษฎรในการปรับปรุงกิจกรรมการหมายแนวเขตส่วนใหญ่ต้องการสัญลักษณ์แนวเขตที่ชัดเจนและถาวร ต้องการให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการร่วมในการดำเนินการ รวมทั้งต้องการให้ราษฎรเข้าร่วมในทุกขั้นตอนและมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5379 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_150199.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License