กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5395
ชื่อเรื่อง: การยอมรับการควบคุมศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมีของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An adoption of non-chemical pesticide control by rice farmers in Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑามาส ภู่ทวี, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
เกษตรกร--ไทย--อุดรธานี
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมีในนาข้าวของเกษตรกร (3) การยอมรับการควบคุมศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมีของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการควบคุมศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมีของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.60 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่มีตำแหน่งทางสังคมเป็นส่วนมาก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประกอบอาชีพหลักคือทำนา และทำไร่เป็นอาชีพรอง จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.85 คน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.89 คน จำนวนแรงงานจ้างเฉลี่ย 3.34 คน พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดและพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 19.76 และ 10.18 ไร่ ตามลำดับ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 338.04 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการทำนาเฉลี่ยสูงที่สุด 4,950 บาทต่อไร่ รายได้จากการขายผลิตข้าว 96,000 บาทต่อปี แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ใช้ของตนเองและกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านสื่อบุคคลได้รับในระดับมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้านสื่อมวลชนได้รับระดับน้อยที่สุดจากวารสารเกษตร (2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมีในระดับมาก (3) เกษตรกรมีการยอมรับเกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืช ดังนี้ วิธีกลอยู่ในระดับปานกลาง วิธีเขตกรรมในระดับมาก วิธีกายภาพในระดับปานกลาง วิธีชีววิธีในระดับมากที่สุด การใช้สารสกัดธรรมชาติจากพืชในระดับมาก และวิธีผสมผสานในระดับมาก โดยเกษตรกรส่วนมากยอมรับนาไปปฏิบัติในทุกวิธี ยกเว้นวิธีกายภาพที่มีเกษตรกรจำนวนน้อยที่ปฏิบัติ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการควบคุมศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมีในระดับปานกลางได้แก่ ปัญหาในการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีกายภาพ เช่น การใช้กับดักแสงไฟในการควบคุมแมลง และการใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลง และข้อเสนอแนะมากที่สุดได้แก่ การอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรโดยวิธีการโรงเรียนเกษตรกร พร้อมทั้งจัดทำแปลงสาธิตเรียนรู้ คำแนะนำการจัดการโรคและแมลงศัตรูข้าวแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5395
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148243.pdfเอกสารฉบับเต็ม13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons