กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5398
ชื่อเรื่อง: การยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรคพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of trichoderma ( trichoderma harzianum) utilization in plant disease control by farmers in Mae Hong Son Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ยงยุทธ ดาวตาก, 2524-
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โรคพืช--การป้องกันและควบคุม
เชื้อราไตรโคเดอร์มา--การใช้ประโยชน์
ข้าว--โรคและศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
เกษตรกร--ไทย--แม่ฮ่องสอน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ระดับความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรคพืช (3) การยอมรับของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรคพืช และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรคพืช ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.22 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกและแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.54 และ 2.13 คน ตามลาดับ ประสบการณ์ในการทาการเกษตรเฉลี่ย 23.95 ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร อาชีพของครัวเรือนคือประกอบการเกษตร พื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 10.24 ไร่ ปลูกข้าวเป็นพืชหลักในพื้นที่เฉลี่ย 7.14 ไร่ รายได้และรายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ยปีละ 47,420.83 และ 14,817.50 บาท ตามลาดับ ส่วนใหญ่มีภาระหนี้สิน ได้รับข้อมูลข่าวสารระดับมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับมากจากการอบรม การประชุมสัมมนา และงานวันเกษตร (2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนน้อยมีความรู้เกี่ยวกับอัตราการใช้ การควบคุมเฉพาะโรค การไม่ใช้เชื้อราร่วมกับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เวลาในการขยายเชื้อ และการเก็บรักษาในตู้เย็นหลังขยายเชื้อ (3) เกษตรกรยอมรับเชิงความคิดเห็นระดับมากที่สุดในขั้นตอนการผลิตและขยายเชื้อสด และการป้องกันกำจัดโรคพืช เกษตรกรยอมรับนำไปปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการยอมรับนำไปปฏิบัติน้อยที่สุดในประเด็นการใช้เชื้อราก่อนหรือหลังการใช้ปูนขาว โดโลไมท์ หรือสารเคมีกำจัดเชื้อรา การใช้ผสมกับปุ๋ยหมักและราละเอียดตามอัตราส่วน และควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราราดลงดิน (4) เกษตรกรมีปัญหาระดับมากในขั้นตอนการผลิตและขยายเชื้อสด การใช้เชื้อก่อนปลูกพืช และการป้องกันกำจัดโรคพืช โดยระดับมากที่สุดคือ การวางแผนการผลิตเชื้อสด นอกจากนั้นมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ควรแนะนำการใช้เชื้อเพื่อการป้องกันมากกว่าการกำจัดโรคพืช และช่วยกำกับดูแลการวางแผนการผลิตและขยายเชื้อสดและการนำไปใช้เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้อง และหน่วยงานควรสนับสนุนให้มีศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้หรือจุดสาธิต ตลอดจนสื่อที่เหมาะสมในการเผยแพร่ความรู้ รวมทั้งเกษตรกรควรหมั่นตรวจสอบแปลงปลูกพืชเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5398
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148244.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons