กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5410
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of the school health program in Seekan (Wattanananuppathum) School under the office of Bangkok Educational Service Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล้า ทองขาว, อาจารย์ที่ปรึกษา
อิสรา ศุขวัฒน์, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
อนามัยโรงเรียน
บริการสุขภาพในโรงเรียน--ไทย--กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนักเรียนระดับชันมัธยมศึกษาตอนปลาย เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนักเรียนระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย จำนวน 329 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบโควตา และเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน โรงเรียนสีถัน (วัฒนานันท์ อุปถัมภ์) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าสภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียนอยู่ในระดับมากอันดับแรกคือ ด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน รองลงมาคือ ด้านการจัดสุขศึกษาในโรงเรียน และด้านการจัดสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และเมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 3 ด้าน พบว่า ด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน และด้านการจัดสุขศึกษาในโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัญหาการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน คือ งบประมาณมีไม่เพียงพอ รองลงมาคือ ห้องนำห้องห้องส้วมไม่สะอาด และบุคลากรห้องพยาบาลมีไม่เพียงพอและข้อเสนอแนะคือควรมีครูพยาบาลอยู่ประจำห้องตลอดเวลา ควรมีทีวีครบทุกห้องเรียนและควรซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนสุขศึกษาใหม่ ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5410
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112596.pdf4.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons