Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5418
Title: | การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนภูเรือวิทยา จังหวัดเลย |
Other Titles: | Uses of electronic media for teaching and learning in science courses for secondary students at Phu Rua Wittaya School in Loei Province |
Authors: | วรางคณา โตโพธิ์ไทย กัญญาณัฐ ถาจัน, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาศาสตร์--การสอนด้วยสื่อ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนภูเรือวิทยา จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนภูเรือวิทยา จังหวัดเลย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 284 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนภูเรือวิทยา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ระดับปานกลาง 2 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ (1) ด้านประเภทของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ สื่อคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (2) ด้านคุณภาพของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือนักเรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อประกอบการเรียน (3) ด้านประโยชน์ของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ นักเรียนได้รับความรู้ที่ทันสมัย และ (4) ด้านลักษณะของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ ใช้ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ (1) ด้านวัตถุประสงค์ของสื่ออิเล็กทรอนิกส์คือ ใช้เพื่อนำเข้าสู่บทเรียน และ (2) ด้านปัญหาของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์คือ ไม่มีโอกาสและไม่มีเวลาเพียงพอในการใช้สื่อ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5418 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159437.pdf | 9.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License