Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/545
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการสุขภาพและจุดคุ้มทุนขั้นพื้นฐานของศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: พาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
คนองยุทธ กาญจนกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุไรรัตน์ ศรีศิริ, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
ศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
บริการสุขภาพ--ค่าใช้จ่าย
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาต้นทุนต่อหน่วยบริการของศูนย์สุขภาพชุมชน 2) หาจุดคุ้มทุนของศูนย์สุขภาพชุมชน 3) เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิหลักและหน่วยบริการปฐมภูมิรอง 4) เปรียบเทียบจุดคุ้มทุนของศูนย์สุขภาพชุมชนในหน่วยบริการปฐมภูมิหลักและหน่วยบริการปฐมภูมิรอง 5) เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยบริการและจุดคุ้มทุนของหน่วยบริการปฐมภูมิรองในสังกัดของโรงพยาบาลศูนย์กับโรงพยาบาลชุมชน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้วิธีเก็บข้อมูลย้อนหลังและเก็บข้อมูลบางส่วนศึกษาไปข้างหน้าช่วงเวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2545 ประชากรที่ศึกษา คือศูนย์สุขภาพชุมชนในหน่วยบริการปฐมภูมิหลักจำนวน 7 แห่งและหน่วยบริการปฐมภูมิรองจำนวน 13 แห่งจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากหน่วยบริการปฐมภูมิหลักจำนวน 18 แห่ง และหน่วยบริการปฐมภูมิรอง จำนวน 30 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูล ศึกษาเฉพาะต้นทุนดำเนินการโดยสำรวจสัดส่วนการใช้เวลาของเจ้าหน้าที่และต้นทุนค่าวัสดุ การคิดจุดคุ้มทุนใช้สูตรคำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยบริการเป็นราคาที่ให้บริการโดยใช้สถิติ แมนวิทนีย์ ยูและวิลค์อกซอน ผลการศึกษาพบ 1) ศูนย์สุขภาพชุมชนในหน่วยบริการปฐมภูมิหลักจัดบริการสุขภาพได้ 6 กิจกรรม และหน่วยบริการปฐมภูมิรองจัดไต้ 9 กิจกรรมจากกิจกรรมหลัก 11 กิจกรรมค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยบริการ คือ 73.91 และ 83.52 บาทต่อครั้งตามลำดับ 2) จุดคุ้มทุนของหน่วยบริการปฐมภูมิหลักและหน่วยบริการปฐมภูมิรองจาก 6 กิจกรรมในข้อ 1 ค่าเฉลี่ย คือ 2,123.15 และ 1,457.21 ครั้งต่อปี ซึ่งหน่วยบริการปฐมภูมิหลักมีจำนวนการให้บริการตํ่ากว่าจุดคุ้มทุน แต่หน่วยบริการปฐมภูมิรองมีจำนวนการให้บริการสูงกว่าจุดคุ้มทุน 3) ต้นทุนต่อหน่วยบริการการตรวจรักษาและการส่งเสริมสุขภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิหลักกับปฐมภูมิรองมีความแตกต่างกันระดับนัยสำคัญ 0.01 4) จุดคุ้มทุนการตรวจรักษาของหน่วยบริการปฐมภูมิหลักกับปฐมภูมิรองมีความแตกต่างกันระดับนัยสำคัญ 0.05 และจุดคุ้มทุนการตรวจรักษาของหน่วยปฐมภูมิหลักจะมีค่ามากกว่าหน่วยปฐมภูมิรอง 5) จุดคุ้มทุนบริการก่อนกลับบ้านของหน่วยบริการปฐมภูมิรองในสังกัดโรงพยาบาลศูนย์ลับโรงพยาบาลชุมชนมีความ แตกต่างกันระดับนัยสำคัญ 0.05 และจุดคุ้มทุนบริการก่อนกลับบ้านหน่วยปฐมภูมิรองในสังกัดโรงพยาบาลศูนย์จะมีค่าสูงกว่าโรงพยาบาลชุมชน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/545
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
79868.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons