กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5450
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรมอุตุนิยมวิทยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing towards the success of Knowledge management in the Meteorological Department
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชวนพิศ ปลูกสร้าง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
กรมอุตุนิยมวิทยา
การบริหารองค์ความรู้
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรม อุตุนิยมวิทยา 2) ศึกษาระดับการรับรู้ในการจัดการความรู้ของข้าราชการ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรมอุตุนิยมวิทยา และ 4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของกรมอุตุนิยมวิทยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและเชิงประเมิน โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้าราชการ กรมอุตุนิยมวิทยาทั่วประเทศ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Taro Yamane, s จำนวน 279 คน เครึ่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดให้เลือกตอบและแบบสอบถาม แบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบค่าที One-way ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ รวมทั้งผลการสัมภาษณ์ผู้ดำเนินรายการ จัดการความรู้ และผู้บริหารของส่วนราชการที่นำการจัดการความรู้ใปใช้จนประสบผลสำเร็จ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรมอุตุนิยมวิทยา ระดับน้อยกว่ารัอยละ 70 2) ระดับการรับรู้ในการจัดการความรู้ของข้าราชการกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่ใน ระดับน้อย โดยข้าราชการในระดับต่าง ๆ มีการรับรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรมอุตุนิยมวิทยา จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ กระบวนการจัดการความรู้ วัฒนธรรมองค์กร และภาวะผู้นำ โดยทั้ง 3 ตัวแปร สามารถอธิบายตัวแปร ตามที่มีความสัมพันธ์กันร้อยละ 73.0 ณ ระดับนัยสำคัญทางสสิดิ 0-05 จากผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะดังนี้คือ องค์กรควรดำเนินการสงเสริมและสนับสนุน ให้ทุกส่วนราชการดำเนินการจัดการความรู้เพื่อสามารถครอบคลุมทุกภารกิจขององค์กร ผู้บริหารควร ส่งเสริม ผลักดัน และสนับสนุนงบประมาณ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นและทัมสมัย รวมทั้ง สถานที่พร้อมทั้งเสริมสร้างความรู้ให้กับข้าราชการเพื่อนำไปสู่การเกิดวัฒนธรรมองค์กรในการ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั่วทั้งองค์กร พัฒนาไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5450
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
107671.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons