Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5451
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนบ้านเพหลาใต้ ตำบลเพหลา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
Other Titles: People's participation in Ban Phe La Tai community forest management, Phe La Sub-district, Klong Thom District, Krabi Province
Authors: ดุสิต เวชกิจ
ยุทธชัย มากผล, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
ป่าชุมชน--การจัดการ--ไทย
ป่าชุมชน--การมีส่วนร่วมของประชาชน--ไทย
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อ มูลทั่วไป เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนบ้านเพหลาใต้ (2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนบ้านเพหลาใต้ (3) ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการป่าชุมชนบ้านเพหลาใต้ ตำบลเพหลา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ การศึกษาครั้งนั้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัว อย่าง ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน จากประชากรทั้งหมด 507 คน ขนาดขงกลุ่มตัวอย่าง ใช้สูตรการคำนวณของ Yamane จำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 59.8 มีอายุ อยู่ระหวา่ง 15 - 25 ปี ร้อยละ 41 มสถานภาพในครัวเรือนเป็นหัวหน้าครัวเรือน ร้อยละ 34.4 มีตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมร้อยละ 43.7 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 53.6 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 80.4 ประกอบอาชีพหลัก คือ รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 52.7 ประชาชนมีรายได้ระหว่าง 15,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 27.2 เคยร่วมงานสาธารณะหมู่บ้าน ร้อยละ 79.5 เคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับป่าชุมชน ร้อยละ 70.1 และมีความเข้าใจเล็กน้อยในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ป่าชุมชน ร้อยละ 70.5 (2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนบ้านเพหลาใต้ อยู่ในระดับปานกลาง ลักษณะการมีส่วนร่วมการจัดการป่าชุมชนโดยรวมพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมรับผลประโยชน์สูงสุด รองลงมาตามลำดับ คือ การร่วมปฏิบัติ การร่วมติดตามประเมินผล และการร่วมวางแผน (3) ปัญหา/อุปสรรคในการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนบ้านเพหลาต้ ได้แก่ ประชาชนให้ความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชนยังไม่มากเท่าที่ควร การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนจากหน่วยงานภาครัฐและผู้นำชุมชนยังไม่เพียงพอ และทั่วถึง ส่วนข้อ เสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ ควรมีการติดป้ายเตือน/กฎ/ระเบียบและมีมาตรการบทลงโทษอย่างจริงจัง สร้างจิตสำนึก กระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักในคุณค่าและเห็นถึงความสำคัญ ของการเข้าร่วมจัดการป่าชุมชน โดยการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมและให้โอกาสประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับป่าชุมชน อย่างครบถ้วนชัดเจนและทั่วถึง เพื่อให้การมีส่วนร่วมของประชาชนมีประสิทธิภาพและนำไปสู่ความยั้ง่ยืนต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5451
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_152247.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons