กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5483
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนบ้านหนอง ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Participation of people in Ban Nong Community forest management in Si Saket Sub-distrit, Na Noi district, Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดุสิต เวชกิจ
รณกฤต จักร์เงิน, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการป่าไม้--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การจัดการป่าไม้--แง่สังคม--ไทย--น่าน
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อ มูลทั่วไป เศรษฐกิจและสังคม ของประชาชนบ้านหนอง (2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนบ้านหนอง (3) ปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการป่าชุมชนบ้านหนอง ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัด น่านการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 673 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรการคำนวณของยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 จำนวน 116 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติท่ีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 51.7) มีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป (ร้อยละ 43.1) มีสถานภาพในครัวเรือนเป็นหัวหน้าครัวเรือน (ร้อยละ 44.0) มีตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม (ร้อยละ 23.3) มีการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 64.6) นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 100) ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม (ร้อยละ 77.5) ประชาชนมีรายได้ต่ากว่า 5,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 59.5) เคยร่วมงานสาธารณะหมู่บ้าน (ร้อยละ 94.8) เคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับป่าชุมชน (ร้อยละ 98.3) และมีความเข้าใจบ้างในข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับป่าชุมชน (ร้อยละ 79.3) (2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนบ้านหนองอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลสูงสุด รองลงมาตามลำดับ คือ การร่วมปฏิบัติ การร่วมรับผลประโยชน์ และการร่วมวางแผน (3) ปัญหา/อุปสรรคที่สำคัญ ในการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนบ้านหนองสำหรับการมีส่วนร่วมทั้ง 4 ขั้นตอน ได้แก่ ประสบปัญหาประชาชนอายุมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีรายไดนอย ส่งผลถึงไม่ค่อยมีเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม ช่องทางการสื่อสารยัง ไม่มีประสิทธิภาพ ความเข้าใจเกี่ยวกีบป่าชุมชนของประชาชนยังไม่มากเท่าที่ควร มีคนนอกพื้นที่เริ่มเข้ามาใช้ประโยชน์ในป่าชุมชน ส่วนข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ ควรทำการประชาสัมพันธ์กฎระเบียบป่าชุมชนบ้านหนอง ให้เป็นที่รับรู้เพิ่มมากขึ้น การออกลาดตระเวนตรวจตราดูแลป่าชุมชนให้ครอบคลุมพื้นทื่และต่อเนื่อง การส่งเสริมประชาชนประกอบอาชีพเสริมที่เชื่อมโยงกับการใช้ประโยชน์ป่าชุมชน และการสร้างผู้นำรุ่นใหม่เพื่อมาสืบทอดการจัดการป่าชุมชนของหมู่บ้านต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5483
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_157801.pdfเอกสารฉบับเต็ม13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons