Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5507
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพนมพร ชวนอุดม-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-04-05T08:43:27Z-
dc.date.available2023-04-05T08:43:27Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5507-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ (1) การบริหารจัดการ (2) ปัญหา และ (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างองค์การบริหารส่วน ตำบลบางบัวทองกับองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราชในจังหวัดนนทบุรีโดยนำปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง 8 ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การพึ่งตนเอง การเสริมสร้าง คุณภาพคนให้มีทั้งความรู้และคุณธรรมควบคู่กัน การรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่าย รวมทั้งความสมดุลและ การพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งผ่าน การทดสอบหาความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.81 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชน และบุคลากรในสถานประกอบกิจการ ในพื้นที่ของ องค์การบริหารส่วนตำบล 2 แห่ง รวม 1,130 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวนนี้ได้ตอบแบบสอบถามและเก็บ รวบรวมคนมาได้ 938 คน คิดเป็นร้อยละ 83.01 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้ คอมพิวเตอร์และสถิติที่นำมาใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยว่า การบริหารจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทองอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่องค์การบริหารส่วน ตำบลพิมลราชอยู่ในระดับมาก (2) สำหรับปัญหาที่สำคัญที่สุดขององค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง คือ การบริหารจัดการไม่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ในขณะที่องค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช คือ ขาดการ สนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และ (3) ในส่วนของแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการของ องค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 2 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลควรพัฒนาหรือฝึกอบรมผู้บริหารทุก ระดับในเรื่องการเห็นถึงความสำคัญของบริหารจัดการหรือการให้บริการประชาชนบนพื้นฐานของเหตุผล รวมทั้งนำกรอบแนวคิดการบริหารจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ ด้วยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2007.274-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียงth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหารth_TH
dc.titleการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทองกับองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราชในจังหวัดนนทบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe comparative analysis of management administration according to the sufficiency economy philosophy between Bang Bua Thong and Phimonratcha Subdistrict Administrative Organization in Nonthaburi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2007.274-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to comparatively analyze (1) the management administration, (2) the problems, and (3) the approaches employed for management administration development, according to Sufficiency Economy Philosophy between Bang Bua Thong and Phimonratcha Subdistrict Administrative Organizations in Nonthaburi Province. The Sufficiency Economy Philosophy which consisted of 8 factors: moderation, rationality, self-immunity, self- dependence, strengthening the qualities of people in both knowledge and morality, cohesiveness, network creation, and equilibrium and sustainable development was used as conceptual framework of this study. This study was a survey research using questionnaire which was pre-tested and checked for validity, including reliability at 0.81. A total of 1,130 samples divided into officials of the Subdistrict Administrative Organizations, local residents, and enterprises’ employees in areas of the both Subdistricts. The questionnaires were gathered back at the amount of 938 (83.01%). In data analysis, statistics of percentage, mean, standard deviation and t-test were used. The results of the study showed that (1) the samples agreed that the management administration according to the Sufficiency Economy Philosophy of the Bang Bua Thong Subdistrict was at the moderate level while the Phimonratcha Subdistrict was at the high level; (2) the most important problem of management administration of the Bang Bua Thong Subdistrict was not on the ground of rationality while the Phimonratcha Subdistrict was lack of supporting the local people to work in group; and (3) the approaches employed for management administration development of the both Subdistricts were the Subdistricts should develop or train their executives at all levels on the importance of management administration or public service delivery based on rationality and apply the Sufficiency Economy Philosophy as framework for their management administration as wellen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
107700.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.37 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons