กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5526
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาความสามารถในการแข่งขันขององค์การของธุรกิจโรงพิมพ์ ในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of organization competitive competency of printing business in Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย อัญชิสา นกเดช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์ ธนชัย ยมจินดา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ โรงพิมพ์ การแข่งขันทางการค้า |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจโรงพิมพ์ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้กรอบแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ การวจัยนื้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ประชากร ได้แก่โรงพิมพ์ในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 70 แห่ง กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นโรงพิมพ์จำนวน 60 แห่ง สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ และแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้จัดการ และรองผู้จัดการ ร้อยละ 79.2 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41-50 ปี (ร้อยละ 45.8) มีการศึกษาระดับปริญญาตรึ (ร้อยละ 65) มีอายุงานระหว่าง 10-20 ปี (ร้อยละ 45) มีเงินทุนจด ทะเบียนตํ่ากว่า 10 ล้านบาท (ร้อยละ 73.4) และมีจำนวนคนงานตํ่ากว่า 50 คน (ร้อยละ 78.3) ภาพรวมของ โรงพิมพ์มีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โรงพิมพ์มีความสามารถในการแข่งขันโดยเรียงลำดับจากด้านที่สูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้าง ด้านค่านิยมร่วม ด้านทักษะ ด้านระบบ ด้านแบบการบริหาร และด้านบุคลากร เรียงตามลำดับ 2) ผลการทดสอบ สมมติฐานชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับระดับความสามารถในการแข่งขันไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และอายุงาน ที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับระดับความสามารถในการแข่งขันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อายุที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับระดับความสามารถในการแข่งขันด้านระบบแตกต่างกัน อายุงานที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับระดับความสามารถในการแข่งขันด้านระบบ ด้านแบบการบริหาร และด้านบุคลากรแตกต่างกัน ปัจจัยองค์การด้านเงินทุนจดทะเบียน และจำนวนคนงาน ที่แตกต่างกันมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าเงินทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกันมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้าง ด้านบุคลากร และด้านค่านิยมร่วมแตกต่างกัน และจำนวนคนงานที่แตกต่างกันมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้าง และด้านค่านิยมร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5526 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
108594.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License