Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/556
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีนวล สถิตวิทยานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพิชา คนกาญจน์, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-13T03:02:35Z-
dc.date.available2022-08-13T03:02:35Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/556-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาแบบวัดความเข้มแข็งทางใจของพยาบาลวิชาชีพด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และทดสอบคุณภาพแบบวัดความเข้มแข็งทางใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีขนาด 500 เตียงขึ้นไป จำนวน 12 แห่ง กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 308 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเข้มแข็งทางใจที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจำนวนทั้งหมด 45 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .96 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 2559 ได้แบบวัดกลับคืนมาทั้งสิ้น 304 ชุด (ร้อยละ 98.7) ดำเนินการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักเชิงยืนยันอันดับที่สอง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนาแบบวัดความเข้มแข็งทางใจของพยาบาลวิชาชีพด้วยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ (1.1) ความมุ่งมันในชีวิต มี 3 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย ความเพียรพยายามให้บรรลุจุดหมาย (LTC1) การยืนหยัดไม่ยอมแพ้อุปสรรค (LTC2) และการมีมุมมอง ที่ดีต่อตนเองและยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็ น (LTC3) (1.2) การมองโลกในแง่ดี มี 5 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย การำหนดเป้าหมายในชีวิต (OPT1) ความสามารถในการวางแผนและการกระทำให้บรรลุเป้าหมาย (OPT2) ความ ภาคภูมิใจในตนเอง (OPT3) การให้ความรักและเมตตาต่อบุคคลอื่น (OPT4) และความสามารถในการแยกแยะสิ่งถูกผิด (OPT5) (1.3) ความอดทนในการเผชิญกบภาวะกดดัน มี 3 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย ความทนทานต่อสภาวะกดดัน (STO1) การแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา (STO2) และความสามารถในการรอคอย (STO3) (1.4) การ แก้ไขสถำนการณ์ปัญหา ความเครียด หรือสิ่งท้าทายและกล้าเสี่ยง มี 3 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบ ประกอบด้วย ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ (SRE1) การมีความหวังและกำลังใจ (SRE2) และความกล้าที่จะขอความช่วยเหลือ (SRE3) (1.5) การแสดงความรับผิดชอบ มี 3 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย ความสามารถในการรู้เท่าทันอารมณ์การควบคุมและแสดงออกอย่างเหมาะสม (RES1) การยอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (RES2) และการจัดการกับความรู้สึกและแรงกระตุ้น และสร้างอารมณ์ขันให้กับตนเอง (RES3) และ (2) ผลการทดสอบคุณภาพของแบบวัดความเข้มแข็งทางใจ พบว่า โมเดลความเข้มแข็งทางใจมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ขององค์ประกอบหลักทุกตัวที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนี GFI อยู่ระหว่าง 0.99 - 1.00 ค่า AGFI อยู่ระหว่าง 0.94 - 0.99 ค่า RMSEA อยู่ระหว่าง 0.00 - 0.06 และค่า Standardized RMR อยู่ระหว่าง 0.00 - 0.04th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.100-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectพยาบาล--ความเครียดในการทำงานth_TH
dc.subjectความสามารถในการปรับตัว (จิตวิทยา)--การทดสอบth_TH
dc.titleการพัฒนาแบบวัดความเข้มแข็งทางใจของพยาบาลวิชาชีพth_TH
dc.title.alternativeThe development of resilience scale for professional nursesth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2015.100-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study is a research and development. The purposes of this study were to development of a Resilience scale for Professional Nurses with confirmatory factor analysis, test quality of measures of Resilience Scale. A sample 308 nurses who working in accident and emergency department of tertiary hospitals, Ministry of Health was selected by multistage sampling. A research instruments was compound of 2 parts: 1) personal data, and (ii) Resilience Scale (45 items). Content validity by 5 experts was passed and .96, Cronbach’s alpha coefficients respectively. Data was analyzed by the secondary confirmed factor analysis by LISREL program. The results showed that (1) the development of a Resilience Scale for Professional Nurses by confirmatory factor analysis were showed (1.1) Life Target Commitment has 3 elements that consists of efforts to achieve the goal (LTC1), insistence uncompromising obstacles (LTC2) and accept what they are and a great view to themselves (LTC3). (1.2) Optimistic has 5 elements consists of targeting life (OPT1), the ability to plan and actions to achieve the goal (OPT2), self-esteem (OPT3), providing love and compassion for others (OPT4) and the ability to distinguish what is wrong (OPT5). (1.3) Stress Tolerance has 3 elements consists of tolerance pressure (STO1), seeking solutions to solve problem (STO2) and leading ability(STO3). (1.4) Situation Remedy has 3 elements consists of the adaptation ability to situation(SRE1), having hope and encouragement(SRE2) and the courage to ask for help(SRE3). (1.5) Responsibility has 3 elements consists of the ability to control and assertive and knowingly mood(RES1), recognized the error of his/her duties(RES2) and dealing with feelings and impulses and create for a sense of humor(RES3).. (2) A measure of Resilience Scale for Professional Nurses model is consistent with empirical data, based on Chi – Square non-significant, GFI index was between 0.99 to 1.00, AGFI was between 0.94 to 0.99, the RMSEA was between 0.00 to 0.06 and the Standardized RMR was between 0.00 to 0.04en_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext 151552.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons