Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/559
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปีติ พูนไชยศรี | th_TH |
dc.contributor.author | กนกวรรณ เชิงชั้น, 2512- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-13T03:38:54Z | - |
dc.date.available | 2022-08-13T03:38:54Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/559 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า (2) หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า (3) หาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ประชากรที่ศึกษา คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ในจังหวัดชัยภูมิ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้จำนวน 260 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินการปฏิบัติ ซึ่งมีความเที่ยงสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค 0.66-0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ไค-สแคว์ และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เชิงเส้นของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุ 21-25 ปี ร้อยละ 38.1 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 51.2 จบชั่นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 42.3 รายได้อยู่ระหว่าง 6,001-8,000 บาท ร้อยละ 42.3 อายุงาน 25-48 เดือน ร้อยละ 52.7 เวลาปฏิบัติงานต่อวันระหว่าง 8-10 ชั่วโมง ร้อยละ 62.3 ปัจจัยนำทางด้านความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 33.8 การรับรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 53.8 ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.1 ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.3 (2) ลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ปัจจัยนำมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรค และสาเหตุการเกิดโรคจากมลพิษทางอากาศ ควรสนับสบุนให้มีการหมุนเวียนพนักงานเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากมลพิษทางอากาศ และควรทำการศึกษาเกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อมทางด้านอื่นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและโรงงานอย่างอื่น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2009.247 | - |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มลพิษทางอากาศ--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า จังหวัดชัยภูมิ | th_TH |
dc.title.alternative | Factors relating to air pollution preventive behavior among garment clothing industry workers in Chaiyaphum Province | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2009.247 | - |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to (1) study personal characteristics, predisposing factor, enabling factor, reinforcing factor, and air pollution preventive behavior among garment clothing industry workers in the Chaiyaphum Province; (2) find relationship between personal characteristics and the behavior of the workers; and (3) find relationship between predisposing factor, enabling factor, reinforcing factor, and the behavior of the workers. The research population was workers in a garment clothing industry in the Chaiyaphum Province. A total of 260 workers were chosen by simple random sampling technique. The tools used were questionnaire, knowledge test, and performance evaluation form which were reliability tested by the Cronbach Alpha Cocfflciant resulted at 0.66-0.86. The analytical statistics were percentage, mean, standard deviation, Chi-square test and Pearson’s Product Moment Correlation. The research findings were that: (1) most of the workers aged between 21-25 years (38.1%), married (51.2%), finished secondary school (Grade 7-9) (42.3%), income of 6,001-8,000 baht (42.3%), working time of 25-48 months (52.7%), working duration per day of 8-10 hours (62.3%). The predisposing factor on knowledge concerning air pollution was at the good level (33.8%), health perception conceming air pollution was at the high level (53.8%). The enabling factor was at the moderate level (53.1%). The reinforcing factor was at the moderate level (77.3%); (2) personal characteristics related with the behavior at 0.01 significant level statistically; and (3) the predisposing factor positively related with the behavior at 0.01 significant level statistically. The research suggested that knowledge concerning risks and causes of diseases from air pollution should be provided to the workers. Worker rotation should be encouraged to reduce risk from diseases caused by air pollution. Study concerning other environmental pollutions affecting worker health in the garment clothing industry and other industries should be studied | en_US |
dc.contributor.coadvisor | นิตยา เพ็ญศิรินภา | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
118763.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License