กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/559
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to air pollution preventive behavior among garment clothing industry workers in Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปีติ พูนไชยศรี
กนกวรรณ เชิงชั้น, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มลพิษทางอากาศ--การป้องกันและควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า (2) หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า (3) หาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ประชากรที่ศึกษา คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ในจังหวัดชัยภูมิ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้จำนวน 260 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินการปฏิบัติ ซึ่งมีความเที่ยงสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค 0.66-0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ไค-สแคว์ และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เชิงเส้นของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุ 21-25 ปี ร้อยละ 38.1 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 51.2 จบชั่นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 42.3 รายได้อยู่ระหว่าง 6,001-8,000 บาท ร้อยละ 42.3 อายุงาน 25-48 เดือน ร้อยละ 52.7 เวลาปฏิบัติงานต่อวันระหว่าง 8-10 ชั่วโมง ร้อยละ 62.3 ปัจจัยนำทางด้านความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 33.8 การรับรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 53.8 ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.1 ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.3 (2) ลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ปัจจัยนำมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรค และสาเหตุการเกิดโรคจากมลพิษทางอากาศ ควรสนับสบุนให้มีการหมุนเวียนพนักงานเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากมลพิษทางอากาศ และควรทำการศึกษาเกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อมทางด้านอื่นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและโรงงานอย่างอื่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/559
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118763.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons