กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5620
ชื่อเรื่อง: การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of local wisdom in instruction of primary education teachers under Roi Et Primary Education Service Area Office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉัฐชนะ ดอนลาดลี, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ภูมิปัชาวบ้าน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การสอน
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนของครู สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน ได้แก่ (1) ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้ใน คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร (2) รูปแบบการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสอนที่โรงเรียน (3) การวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอน (4) การเตรียมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ มีการเตรียมการประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (5) การสอนโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ มีการศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่น (6) สื่อที่ใช้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ เอกสารความรู้ที่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่เรียน (7) การประเมินผลโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ การประเมินหลังเรียน (8) ประโยชน์โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ นักเรียนมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ และ (9) ปัญหาและอุปสรรคในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ โรงเรียนขาดงบประมาณ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5620
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143434.pdf17.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons