กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5624
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตส้มเขียวหวานตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines of tangerine in accordance with good agricultural practices standards of farmers in Thung Chang district, Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
บรรเจิด คำก๋อง, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ส้มเขียวหวาน--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร
ส้มเขียวหวาน--ไทย--มาตรฐานการผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตส้มเขียวหวาน 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตส้มเขียวหวานตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการผลิตส้มเขียวหวานตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตส้มเขียวหวานตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุโดยเฉลี่ย 50.31 ปี และจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสบการณ์ในการปลูกเฉลี่ย 19.59 ปี แรงงานในการผลิตส้มเขียวหวาน เฉลี่ย 2.45 คน มีพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานเฉลี่ย 16.06 ไร่/ครัวเรือน ต้นทุนใช้ในการผลิตเฉลี่ย 3,225.92 บาท/ไร่ 2) มีสภาพพื้นที่ปลูกเป็นหุบเขา ปลูกในรูปแบบสวนผสม โดยใช้น้ำฝน พบแมลงศัตรูหนอนซอนใบส้ม วิธีการกำจัดโรคและแมลงศัตรู ใช้สารเคมีในการกำจัดมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวโดยการตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตส้มเขียวหวานตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมาก โดยมีคะแนนจากการทดสอบความรู้อยู่ในช่วง 16-21 คะแนน 4) ปัญหาที่พบมากที่สุด ด้านความรู้เรื่องการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างถูกต้องและปลอดภัย ข้อเสนอแนะต้องการให้เจ้าหน้าที่อบรมให้ความรู้เรื่อง ตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำ การผลิตสารชีวภัณฑ์ และการป้องกันกำจัดการศัตรูพืชอย่างถูกต้อง 5) แนวทางการส่งเสริมเกษตรกรต้องการการได้รับความรู้เรื่องโรคส้มจากการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมในการเข้ามาเยี่ยมเยียนมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5624
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons