กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5640
ชื่อเรื่อง: | การผลิตข้าวของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนชาวนาจังหวัดชัยนาท |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Rice production by farmers participating in the Farmer Field School of Chai Nat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา ชลิต พิชยภิญโญ, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ข้าว--การปลูก--ไทย--ชัยนาท ข้าว--การผลิต--ไทย--ชัยนาท |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวของเกษตรกร (3) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร (4) ความต้องการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 48.39 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือปวช. และประถมศึกษาปีที่ 4 สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.72 คน เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส.และกลุ่มสหกรณ์การเกษตร ประสบการณ์ในการผลิตข้าวเฉลี่ย 17.78 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การถือครองที่ดินเป็นของตนเองและเช่าผู้อื่น แหล่งทุนเป็นทุนตนเองและกู้จากสหกรณ์การเกษตร เหตุผลในการเข้าอบรม ต้องการลดต้นทุนการผลิตข้าว การผลิตข้าวในรอบปี จำนวน 2 ครั้ง ขนาดพื้นที่ในการผลิตข้าวเฉลี่ย 29.22ไร่ จำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ร่วมผลิตข้าวเฉลี่ย 2.12 คน จำนวนแรงงานที่จ้างในการผลิตข้าว 3.87 คน ลักษณะการผลิตข้าวทำเองและจ้าง (2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวของเกษตรกร ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ย แมลง และการเตรียมดิน แต่ในเรื่องของฮอร์โมนหรือสมุนไพรยังมีความรู้ที่น้อย (3) เมื่อเข้าร่วมโรงเรียนชาวนาแล้ว เกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่อไปนี้ หมักฟางด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วย คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวงอกด้วยสมุนไพรรสขม ระบายน้ำให้แห้งก่อนเก็บเกี่ยวข้าว 15 วัน ฉีดพ่นฮอร์โมนหัวปลี ฉีดจุลินทรีย์ปรามโรค ตรวจนับแมลงก่อนการใช้สารกำจัดศัตรูข้าว และเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ลดลง 351.27 บาท โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4) เกษตรกรต้องการการส่งเสริมผ่านช่องทางสื่อบุคคล คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สื่อสิ่งพิมพ์ คือ คู่มือ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ โทรทัศน์ วิธีการส่งเสริม เกษตรกรต้องการการฝึกอบรม และให้บริการสนับสนุนข่าวสารวิชาการ เทคโนโลยี ใหม่ๆ และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ คือ ต้องการจะทำการผลิตข้าวตามรูปแบบโรงเรียนชาวนาแต่ขาดแคลนวัตถุดิบ ขาดแคลนแรงงานรับจ้างและไม่สามารถเก็บเกี่ยวในระยะพลับพลึงได้ จึงควรมีการรวมกลุ่มกันในพื้นนาใกล้เคียงเพื่อวางแผนจัดหาวัตถุดิบ แรงงานรับจ้าง การผลิต ตลอดจนการเก็บเกี่ยวและการตลาด ซึ่งจะทาให้มีอำนาจในการต่อรองเพิ่มมากขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5640 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
148719.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License