Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5654
Title: | การจัดการผลิตโคเนื้อที่จำหน่ายผ่านตลาดนัดโคกระบือภูดิน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
Other Titles: | Production management of beef cattle traded at Poodin Cattle and Buffalo Market, Kalasin Province |
Authors: | ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา วรินธร มณีรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา ชัยณรงค์ ภูโทถ้ำ, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | โคกระบือ--การตลาด โคกระบือ--การเลี้ยง |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้เลี้ยงโคเนื้อและพ่อค้ารวบรวมโคเนื้อท้องถิ่นในตลาดนัดโคกระบือ (2) สภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร (3) ค่าใช้จ่ายการนาโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดโคกระบือ และ (4) ปัญหาการจัดการผลิตโคเนื้อของเกษตรกร ผลวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อส่วนใหญ่อายุประมาณ 51-60 ปี เป็นเพศชาย มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่เลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองผสมบราห์มัน สำหรับพ่อค้ารวบรวมท้องถิ่นส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี มีประสบการณ์ในการรวบรวมโคเนื้อมากกว่า 10 ปี (2) เกษตรกรกลุ่มที่ 1 ร้อยละ 90.90 มีพื้นที่ถือครองน้อยกว่า 10 ไร่ และร้อยละ 52.94 เลี้ยงโคเนื้อแบบผูกล่าม ส่วนเกษตรกรกลุ่มที่ 2 ร้อยละ 36.80 มีพื้นที่ถือครองมากกว่า 10 ไร่ ส่วนใหญ่มีการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยเลี้ยงและผูกล่ามในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีการใช้อาหารหยาบสด อาหารหยาบแห้ง และมีการเสริมอาหารข้นเลี้ยงโคเนื้อ นอกจากเกษตรกรจะใช้วัสดุเหลือใช้จากไร่นาเป็นอาหารเลี้ยงโคแล้ว ยังมีการซื้ออาหารหยาบแห้งจากภายนอกฟาร์ม เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีค่าใช้จ่ายด้านพันธุ์โคเนื้อมากกว่าร้อยละ 90 (3) ค่าใช้จ่ายการนำโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดโคกระบือ ทั้งเกษตรกรและพ่อค้าจะใช้รถยนต์ 6 ล้อ เป็นพาหนะขนส่ง โดยมีฟางข้าวเป็นวัสดุรองพื้นเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของโคเนื้อระหว่างขนส่ง สาหรับค่าใช้จ่ายการนำโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดโคกระบือ ค่าใช้จ่ายการนำโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดโคกระบือของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นค่าน้ามันเชื้อเพลิงและค่าพาหนะ จำนวนโคเนื้อโดยเฉลี่ยที่เกษตรกรกลุ่มที่ 1 จำหน่ายคือ 2.5 ตัวต่อรอบการผลิต 1.5 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 24,362.27 บาทต่อตัวและมีรายได้เฉลี่ย 30,072 บาทต่อตัว ส่วนจำนวนโคเนื้อโดยเฉลี่ยที่เกษตรกรกลุ่มที่ 2 จำหน่ายคือ 3.5 ตัวต่อรอบการผลิต 1.5 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 23,418.13 บาทต่อตัวและมีรายได้เฉลี่ย 31,351.13 บาทต่อตัว ค่าใช้จ่ายการนำโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดของพ่อค้ารวบรวมโคเนื้อท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นค่าน้ามันเชื้อเพลิงและค่าพาหนะ รองลงมาคือค่าอาหารและค่าเครื่องดื่ม และ (4) สำหรับปัญหาสำคัญของการเลี้ยงโคเนื้อ คือ มีสารกำจัดวัชพืชตกค้างในแปลงนา รองลงมาคือ อาหารข้นและอาหารหยาบในฤดูแล้งหายาก และยารักษาโรคมีราคาสูง ตามลำดับ ในขณะที่พ่อค้ารวบรวมโคเนื้อท้องถิ่นมีปัญหาสำคัญ เกี่ยวกับการรวบรวมโคเนื้อ คือ โคเนื้อมีจำนวนน้อย และมีการกระจายตัวในพื้นที่ต่างๆ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5654 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
150126.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License