Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5656
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนันทินี ศรีจุมปา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชวฤทธิ์ กิติรัตน์, 2508--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-04-27T06:28:06Z-
dc.date.available2023-04-27T06:28:06Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5656-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีบางประการของวัสดุเพาะเห็ดฟางแต่ละชนิด 2) วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตเห็ดฟาง 3) องค์ประกอบทางเคมีของเห็ดฟางที่เพาะด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแต่ละชนิด และ 4) ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเห็ดฟาง ผลการวิจัย พบว่า 1) ทุกทรีตเมนต์มีค่าดูดซับความชื้น เฉลี่ย 79.05 เปอร์เซ็นต์ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง เฉลี่ย 5.65 ผลวิเคราะห์ธาตุอาหารในวัสดุเพาะเห็ดฟางพบค่า N, P, K และ Ca มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P< 0.05) ค่า Mg ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 2) ผลผลิตเห็ดฟางมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ เห็ดฟางที่เพาะด้วยต้น ก้าน และใบกล้วย ให้ผลผลิตสูงสุด เท่ากับ 444.82 กรัม/ตะกร้า เห็ดฟางที่เพาะด้วยเปลือกและฝักข้าวโพดให้คุณภาพดอกเห็ดเกรด A สูงสุด 45.75 เปอร์เซ็นต์/ตะกร้า และ 3) องค์ประกอบทางเคมีเห็ดฟางที่เพาะจากวัสดุเพาะทางการเกษตร ได้แก่ ค่าวัตถุแห้ง (dry matter: DM) โปรตีนหยาบ (crude protein: CP) เยื่อใยหยาบ (crude fiber: CF) ไขมัน (Fat) เถ้า (Ash) คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย (Nitrogen free extract: NFE) และฟอสฟอรัส (P) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ (P< 0.01) แต่มีแคลเซียม (Ca) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ 4) ต้นทุนการผลิตเห็ดฟางที่เพาะจากก้อนเห็ดนางรมฮังการีที่ผ่านการเก็บผลผลิตหมดแล้วมีต้นทุนการผลิตต่าที่สุดคือ 8 บาท/ตะกร้า ผลตอบแทนการผลิตพบว่า เห็ดฟางที่เพาะด้วย ต้น ก้าน และใบกล้วยให้ผลตอบแทนสูงสุด 30.77 บาท/ตะกร้า และผลกาไรเห็ดฟางที่เพาะด้วยก้อนเห็ดนางรมฮังการีที่ผ่านการเก็บผลผลิตหมดแล้วให้ผลกาไรสูงสุด 18.70 บาท/ตะกร้าth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.153-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectเห็ดฟาง--การปลูกth_TH
dc.titleการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าth_TH
dc.title.alternativeUsing agricultural wastes for straw mushroom in basket cultivationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2015.153-
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
149459.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons