กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5676
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์งานวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Synthesis of research on organizing learning activities in the Thai language learning area at the secondary education level
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนรัชฎ์ ศิริสวัสดิ์
ปวัณรัฏณ์ เล็กสมสันติ์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
กิจกรรมการเรียนการสอน
ภาษาไทย--กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตฤประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาและ (2) สังเคราะห์งานวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ วิทยานิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนตันและตอนปลายตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 - 2550 จำนวน 100 เรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะของงานวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาปีที่พิมพ์เผยแพร่มากที่สุด คือ พ.ศ. 2547 มีงานวิจัยสาระการอ่านมากที่สุด มีการตั้งสมมุติฐานแบบทางเดียวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87 ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงกึ่งทดลองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50 การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มอย่างง่ายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุดคือแบบทตสอบ คิดเป็นร้อยละ 58.60 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือใช้ความตรงและความเที่ยงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.51 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 39.81 (2) ผลการสังเคราะห์เชิงคุณภาพของงานวิจัยพบว่า (2.1) การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน 37 เรื่อง เป็นการ สอนอ่านออกเสียง อ่านเพื่อความเข้าใจ อ่านเพื่อจับใจความสำคัญ อ่านเชิงวิเคราะห์ อ่านอย่างมีวิจารณญาณ อ่านตีความ และการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน จากการศึกษาพบว่า มีการวิจัยการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจมากที่สุด และมีการวิจัยกับการสอนโดยใช้กระบนการกลุ่มมากที่สุด (2.2) การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียน จำนวน 25 เรื่อง เป็นการสอนเขียนรายงาน การจดบันทึก การเขียนเรียงความ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การเขียนความเรียงและกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียน จากการศึกษาพบว่า มีการวิจัยการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนมากที่สุดและมีการวิจัยกับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกมากที่สุด (2.3) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง การดู และการพูดมีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้น้อยมาก (2.4) การจัดกิจกรรมพัฒนาหลักการใช้ภาษา จำนวน 14 เรื่อง เป็นการสอนผันวรรณยุกต์ การแต่งคำประพันธ์ คำราชาศัพท์ เสียงในภาษาไทย การจำแนกคำในภาษาไทย ชนิดของประโยค และการสอนเพื่อพัฒนาหลักการใช้ภาษา พบว่ามีการวิจัยการสอนเรื่องการจำแนกคำในภาษาไทยมากที่สุด และมีการวิจัยกับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุด (2.5) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรม จำนวน 6 เรื่อง มีการวิจัยกับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุด และ (2.6) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยไม่เน้นกลุ่มสาระ จำนวน 18 เรื่อง เป็นการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณ์ และการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการจำ พบว่า มีการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5676
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_119307.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons