กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5693
ชื่อเรื่อง: การจัดการการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Baby corn production management by farmers in Kamphaeng Saen District of Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา โพธิ์ดี,อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยพัฒน์ เหลือโกศล, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ข้าวโพดฝักอ่อน--การปลูก
ข้าวโพดฝักอ่อน--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรใน พื้นที่ศึกษา 2) เพื่อศึกษาการจำหน่ายผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาการจัดการการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร 4) เพื(อเปรียบเทียบผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่และรายได้เฉลี่ยต่อไร่ของเกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP และเกษตรกรทั่วไป และ 5) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะพื5นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.56 ปี ประสบการณ์การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนเฉลี่ย 12.96 ปี เกษตรกรทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.36 ปี ประสบการณ์การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนเฉลี่ย 13.71 ปี 2) การจำหน่ายผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อน พบว่า เกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP ส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตให้โรงงานแปรรูปในลักษณะข้าวโพดฝักอ่อนทั้งเปลือก ราคาเฉลี่ย 4.47 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรทั่วไปส่วนใหญ่ จำหน่ายผลผลิตให้พ่อค้าส่งในลักษณะข้าวโพดฝักอ่อนปอกเปลือกตัดขั้ว โดยแบ่งเป็น 3 เกรด คือ ไซส์แพค ไซส์ รวม และไซส์ตกเกรด โดยราคาขายเฉลี่ย24.70, 20.34, และ 5.87 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ 3) การจัดการการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร พบว่า เกษตรกร ที่ได้รับการรับรอง GAP มีพื5นที่ปลูกเฉลี่ย 2.15 ไร่ ส่วนใหญ่ใช้ พันธุ์แปซิฟิ ค 321 เกษตรกรทั่วไปมีพื5นที่ปลูกเฉลี่ย 1.69 ไร่ และส่วนใหญ่ใช้พันธุ์แปซิฟิค 271 การใส่ปุ๋ยและสารเคมี พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ของทั้งสองกลุ่ม ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 และสูตร 21-0-0 และใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช เกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP ให้น5ำด้วยความถี่สูงกว่าเกษตรกรทั่วไป 4) เกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP และเกษตรกรทั่วไป ได้รับผลผลิตเฉลี(ยต่อไร่และรายได้เฉลี่ยต่อไร่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และ 5) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่ไม่พบปัญหาในการจัดการการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5693
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150609.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons