Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5697
Title: การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและปุ๋ยเคมีในการเพาะกล้ามะเขือเทศสีดา
Other Titles: The use of agricultural waste and chemical fertilizers as seedling media for Tomato (Lycopersicon esculentum Mill.) cv. Sida
Authors: ปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
รดา สมคณะ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มะเขือเทศ--การปลูก
วัสดุเหลือใช้จากพืชเศรษฐกิจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาผลของชนิดและสัดส่วนของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศสีดา 2) ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีเสริมต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศสีดา และ 3) ศึกษาต้นทุนของวัสดุเพาะกล้ามะเขือเทศสีดา ผลการทดลองที่ 1 พบว่า ในวันที่ 7 หลังเพาะเมล็ดมะเขือเทศสีดาในพีทมอส มีจำนวนต้นกล้าและเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดมากที่สุด แตกต่างกันทางสถิติกับวัสดุเพาะสูตรที่ 3 (p < 0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับวัสดุเพาะสูตรที่ 2 4 5 และ 6 และในวันที่ 14 หลังเพาะเมล็ด ความงอกของเมล็ดมะเขือเทศสีดาที่เพาะในวัสดุเพาะสูตรต่างๆ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการทดลองที่ 2 พบว่า การเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศสีดาอายุ 21 และ 28 วันหลังเพาะในวัสดุเพาะสูตรต่างๆ ร่วมกับการให้และไม่ให้ปุ๋ยเคมีเสริมไม่มีอิทธิพลร่วมกัน โดยการให้ปุ๋ยเคมีและไม่ให้ปุ๋ยเคมีเสริมไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มะเขือเทศสีดาอายุ 21 วันหลังเพาะในวัสดุเพาะสูตรที่ 1 มีความสูง เส้นผ่านศูนย์กลาง และนํ้าหนักสดต้นมากที่สุด (p < 0.05) ส่วนสูตรที่ 5 มีนํ้าหนักแห้งต้นมากที่สุด (p < 0.05) มะเขือเทศสีดาอายุ 28 วันหลังเพาะในวัสดุเพาะสูตรที่ 5 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหนักแห้งต้นมากที่สุด (p < 0.05) นอกจากนี้ยังมีต้นทุนตํ่าที่สุดด้วย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5697
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151064.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons