Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5713
Title: การจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกรในตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Rice pest management by farmers at Bokaew Sub-District, Samoeng District, Chiang Mai Province
Authors: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนีวรรณ์ เป็งพรม, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ข้าว--โรคและศัตรูพืช--การจัดการ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกร และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกรในตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่เป็นเพศชายและช่วงอายุของเกษตรกรเฉลี่ย 48.53 ปี มีจำนวนสมาชิกครอบครัว เฉลี่ย 4.22 คน และมีประสบการณ์ในการปลูกข้าว เฉลี่ย 25.91 ปี รายได้ของเกษตรกรในภาคการเกษตรเฉลี่ย 70,223.00 บาทต่อปี มีรายจ่ายในการป้องกันกําจัดศัตรูข้าว เฉลี่ย 2,595.26 บาทต่อปี เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์บือโปะโละ และมีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 5.15 ไร่ เกษตรกรปลูกข้าวแบบนาดำ แหล่งนํ้าใช้ในแปลงปลูกข้าวอาศัยนํ้าจากธรรมชาติ เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรส่วนใหญ่ได้มาจากการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเฉลี่ย 17.84 กิโลกรัมต่อไร่ 2) เกษตรกรพบโรคไหม้ โรคใบจุดสีนํ้าตาล และโรคกาบใบแห้ง เกษตรกรพบแมลงศัตรูข้าวได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล เพลี้ยไฟ และเพลี้ยกระโดดหลังขาว สัตว์ศัตรูข้าวได้แก่ หนู นก และหอยเชอรี่ การจัดการปัญหาโรคและแมลงศัตรูข้าวเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ต้านทานและใช้สารเคมีป้องกันกำจัด การจัดการวัชพืชเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่สะอาดไม่มีวัชพืชเจือปน เลือกช่วงเวลาปลูกข้าวโดยหลีกเลี่ยงช่วงเมล็ดวัชพืชงอกในเดือนมิถุนายน การจัดการสัตว์ศัตรูข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีการป้องกันกำจัดตามหลักวิชาการโดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในนาข้าว 3) ปัญหาในการจัดการศัตรูข้าว เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความรุนแรงของปัญหาศัตรูข้าวในระดับปานกลาง เกษตรกรขาดการอบรมเพื่อให้ความรู้ในด้านการจัดการศัตรูข้าว การผลิตขยายสารชีวภัณฑ์ในการจัดการโรคและแมลงศัตรูข้าว ความรู้เทคนิควิธีการจัดการศัตรูข้าว การจำแนกศัตรูข้าว การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติและการควบคุมแมลงศัตรูข้าวโดยชีววิธี และผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ข้อเสนอแนะ คือ เกษตรกรต้องการให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศัตรูข้าว และให้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารศัตรูข้าวชุมชนเพื่อผลิตสารชีวภัณฑ์
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5713
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151238.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons