Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5719
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดอำนาจเจริญ
Other Titles: Factors relating to the operation success of community rice seed promotion and production centers in Amnat Charoen Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันชัย ประยงค์หอม, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน--การบริหาร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 2) ความรู้ของสมาชิกเกี่ยวกับศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของสมาชิกต่อความสำเร็จการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกร้อยละ 57.6 เป็นหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.53 ปี ร้อยละ 36.7 จบประถมศึกษาตอนปลาย มีประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 30.54 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.41 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.72 คน มีประสบการณ์เข้ารับการฝึกอบรมการทำนาเฉลี่ย 9.34 ครั้ง ร้อยละ 84.7 ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยราชการ ร้อยละ 94.9 มีเหตุจูงใจในการเข้าร่วมกับศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนคือต้องการได้รับความรู้เทคโนโลยี ร้อยละ 96.6 ได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ มีพื้นที่นาทั้งหมดเฉลี่ย 20.69 ไร่ มีรายได้จากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 66,726.11 บาท ร้อยละ 43.6 จำหน่ายให้กับสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. 2) สมาชิกร้อยละ 90.8 มีความรู้เกี่ยวกับศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนในระดับมาก 3) สมาชิกมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์ฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้านได้แก่ ด้านการบริหารจัดการศูนย์ ด้านการดำเนินการผลิต ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการสร้างเครือข่าย และด้านการกระจายพันธุ์มีค่าเฉลี่ย 3.87,3.79, 3.79, 3.76 และ 3.71 ตามลำดับ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะความคิดเห็นของสมาชิกต่อปัญหาการดำเนินงานศูนย์ฯ พบว่า เกษตรกรมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการกระจายพันธุ์ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการสร้างเครือข่ายศูนย์ ด้านการผลิต และด้านการบริหารงานศูนย์ มีค่าเฉลี่ย 3.75 3.62 3.60 3.58, และ 3.56 ตามลำดับ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร)) --มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5719
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151263.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons