Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5726
Title: แนวทางการส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตร สำหรับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: Extension guidelines on home economics for farm woman Groups in Chachoengsao Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สดศรี ทุมมาเกตุ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: เกษตรกร--การดำเนินชีวิต
แม่บ้าน--การรวมกลุ่ม
การจัดการบ้าน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ประโยชน์ของงานเคหกิจเกษตรต่อครัวเรือนและระดับการได้รับการส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานด้านเคหกิจเกษตร (4) ความต้องการการส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตร (5) แนวทางการส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตร ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 53.02 ปี ร้อยละ 59.8 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 11.34 ปี ทุกรายได้รับข้อมูลด้านเคหกิจเกษตรจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตร ส่วนใหญ่มีความสามารถด้านการแปรรูปและถนอมอาหาร ร้อยละ 45.1 ประกอบอาชีพทานาเป็นอาชีพหลัก มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.19 คน มีพื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 15.94 ไร่ มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.66 คน มีรายได้รวมของครัวเรือนเฉลี่ย 175,000.00 บาทต่อปี รายจ่ายรวมของครัวเรือนเฉลี่ย 147,045.08 บาทต่อปี (2) มีความคิดเห็นว่าการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การแปรรูปและถนอมอาหารเป็นประโยชน์ต่อครัวเรือนมากที่สุด ได้รับการส่งเสริมด้านจัดการครัวเรือนและสิ่งแวดล้อมน้อย (3) มีปัญหามากด้านการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และการจัดทำบัญชีครัวเรือน เสนอแนะ ให้มีการส่งเสริมการแปรรูปและถนอมอาหาร ส่งเสริมด้านอาชีพเสริม ให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ส่งเสริมด้านการตลาดและให้ความสาคัญกับการรวมกลุ่ม (4) ต้องการความรู้ทุกด้านผ่านบุคคลราชการ โดยการสาธิต การฝึกปฏิบัติ และใช้คู่มือประกอบการเรียนรู้ โดยมีความต้องการความรู้และช่องทางการส่งเสริมผ่านทางวิทยุแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 (5) แนวทางการส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตร มี 3 แนวทาง ได้แก่ การพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตรให้มีความรู้และทักษะในการส่งเสริมงานด้านเคหกิจเกษตร การส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตรแบบมีส่วนร่วม และการส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตรแบบบูรณาการ โดยจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ด้านเคหกิจเกษตรประจำอำเภอ เพื่อพัฒนาให้ครัวเรือนของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความกินดี อยู่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5726
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151580.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons