Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5739
Title: มาตรการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ศึกษากรณีใบกำกับภาษีปลอม
Other Titles: Measure levy of value added tax : case study of false tax invoice
Authors: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชินนิวัฒน์ มูลฐี, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดเก็บภาษี
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี(มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนศึกษาถึงสภาพของปัญหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดและวิธีการกระทำความผิดจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อจำกัดทางกฎหมายในการดำเนินคดีภาษีที่มีโทษทางอาญากรณีใบกำกับภาษีปลอม เพื่อเสนอแนะให้มีการยกเลิก การปรับปรุงแก้ไขระเบียบ กฎหมาย และการเพิ่ม บทบัญญัติฐานความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงภาษีโดยใช้ใบกำกับภาษีปลอมการดำเนินการศึกษาค้นคว้าฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีค้นคว้าและรวบรวม ข้อมูลแบบเอกสาร จากประมวลรัษฎากร ประมวลกฎหมายอาญา แนวคำพิพากษาศาลฎีกา คำสั่ง กรมสรรพากร หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร ตลอดจนค้นคว้าข้อมูลจากวารสารกฎหมาย หนังสือ กฎหมายของไทย บทความเอกสาร วิทยานิพนธ์ รวมถึงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆมา เรียบเรียงศึกษาวิเคราะห์หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ความสำคัญกับใบกำกับภาษีจึงทำให้ผู้ที่ทุจริตแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายปลอม “ใบกำกับภาษี”เพื่อฉ้อโกงเงินภาษี เป็นการทำลายระบบเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำความผิดในปัจจุบันยังไม่สามารถยับยังและ ป้องกันการกระทำความผิดในกรณีนี้ได้เนื่องจากแนวปฎิบัติ ระเบียบ แนวปฎิบัติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บางฉบับเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินคดี ผู้ศึกษาเห็นว่าต้องการแก้ไขปัญหาสามประการๆกล่าวคือประการแรกเสนอให้มีการปรับปรุงด้านกฎหมาย ได้แก่ ระเบียบ กฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินคดีภาษีที่มี โทษทางอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทลงโทษที่ไม่เพียงพอ ประการที่สองในด้านนโยบายการให้เครดิตภาษีและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ กระบวนการตรวจสอบความผิดของผู้ออกหรือใช้ใบกำกับภาษีล่าช้า ประการสุดท้ายในด้านมาตรการสนับสนุนในการป้องกันและปราบปรามใบกพำกับภาษีปลอม ได้แก่ เสนอให้เพิ่มงบประมาณเพื่อจัดอัตรากาลังเจ้าหน้าที่ให้รับผิดชอบโดยตรง มีการตั่งหน่วยงานใหม่เพื่อ รับผิดชอบการดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษีปลอม เป็นต้น เพื่อให้สามารถยับยัง และป้องกันผู้กระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5739
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_134105.pdfเอกสารฉบับจริง15.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons