Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/576
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการขจัดปัญหายาเสพติด จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Factors affecting to community leaders on participation in drug abuse eradication in Suphan Buri province
Authors: วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษฎา อินเทียน, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ผู้นำชุมชน--ไทย
ยาเสพติด--การป้องกันและควบคุม--การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเศรษฐกิจและสังคมและปัจจัยการติดต่อสื่อสารของผู้นำชุมชน (2) ระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการขจัดปัญหายาเสพติด (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการขจัดปัญหายาเสพติด และ (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการขจัดปัญหายาเสพติด ประชากรที่ศึกษา คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทุกคน ในพื้นที่ที่ปรากฏข่าวสารยาเสพติด 3 ปีติดต่อกันของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 323 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้นำชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 46.61 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ของครอบครัวเฉลี่ย 11,934.37 บาทต่อเดือน มีระยะเวลาอาศัยอยู่ในชุมชนเฉลี่ย 43.03 ปี มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งในชุมชนเฉลี่ย 5.05 ปี เคยได้รับความรู้หรีอการฝึกอบรมด้านยาเสพติดเฉลี่ย 3.75 ครั้ง และเคยติดต่อประสานงานด้านยาเสพติดกับเจ้าหน้าที่ปกครองเฉลี่ย 6.72 ครั้ง (2) การมีส่วนร่วมในการขจัดปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (3) ระยะเวลาดำรงตำแหน่งในชุมชน รายได้ การติดต่อประสานงานด้านยาเสพติดกับบุคคลภายนอก อาชีพเกษตรกรรม และเพศ มีอิทธิพลร่วมกันในการทำนายการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการขจัดปัญหายาเสพติดของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ร้อยละ 19.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการขจัดปัญหายาเสพติด คือ ขาดการให้ความร่วมมือจากกลุ่มวัยรุ่น ผู้ปกครอง และประชาชนในการขจัดปัญหายาเสพติดในชุมชน โดย มีข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวัยรุ่น ผู้ปกครอง และประชาชน และส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการขจัดปัญหายาเสพติดในชุมชน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/576
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
114772.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons