Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5771
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชัญญอัจจ์ ศิรรัตน์ประภา, 2522-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-05-02T08:18:09Z-
dc.date.available2023-05-02T08:18:09Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5771-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้เสียหายมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประวัติ แนวคิด ทฤษฎี และบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาแผ่นดินของผู้เสียหาย กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่มีต่อการดำเนินคดีอาญาแผ่นดินของผู้เสียหาย และศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาแผ่นดินของผู้เสียหาย เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาแผ่นดินของผู้เสียหาย การศึกษาค้นคว้าเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารเป็นหลักในการค้นคว้า โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จาก หนังสือ วารสาร ตัวบทกฎหมาย บทความ คำพิพากษาศาลฎีกา ตลอดจนสื่ออิเล็คโทรนิคต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อหาข้อสรุปในการแก้ไขกฎหมายหรือหามาตรการที่เหมาะสม ในการดำเนินคดีอาญาแผ่นดินโดยผู้เสียหายเพื่อป้องกันการดำเนินคดีอาญาโดยสมยอมอันจะเกิดผลเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย ผลจากการศึกษาพบว่าการดำเนินการเริ่มต้นคดีอาญาของผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ สามารถพิจารณาได้ทั้งในด้านบวกและในด้านลบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา บางกรณีที่ผู้เสียหายอาจมีความประสงค์ตั้งใจทำให้คดีอาญาเสียหายโดยเฉพาะในคดีอาญาต่อแผ่นดิน มีการแกล้งดำเนินคดีแบบสมยอม โดยอาจฟ้องผู้กระทำผิดหรือดำเนินคดี อย่างไม่จริงจังเต็มความสามารถของตนที่จะดำเนินการได้ ทำให้ศาลยกฟ้องผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ พนักงานอัยการก็จะไม่สามารถดำเนินคดีอาญาแผ่นดินได้อีก เนื่องจากสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า ควรมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องสิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องหรือในกรณีที่ผู้เสียหายจะดำเนินการฟ้องคดีอาญาแผ่นดินต่อศาลด้วยตนเองให้ผู้เสียหายดำเนินการขออนุญาตต่อพนักงานอัยการเสียก่อนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี.th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้เสียหายth_TH
dc.subjectการฟ้อง--คดีอาญาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleการใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้เสียหายในการฟ้องคดีอาญาแผ่นดินth_TH
dc.title.alternativeTo the legality of the victim in the criminal indictmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis Independent Study is aimed to study the history, theories and the provisions of law regarding the criminal prosecution of the victim Thailand. The study will also explore the principle of the criminal justice in the process of criminal prosecution. The comparative analysis of laws regarding the criminal prosecution of the victim will be conducted to improve the criminal procedure law relating to the criminal prosecution of the victim. This study uses a qualitative research approach analyzing books and research papers both in Thai and foreign languages, scholarly articles, legislation, Supreme Court orders and journals as well as electronic media in order to conduct the comparative analysis of law to amend the law and to find a suitable legal measure in the process of the criminal prosecution in Thailand. The study found that the beginning process of the criminal prosecution of the victim in Thailand can be considered both a positive and a negative side to the criminal justice system. Some cases the victim may wish to make a criminal claim with a false intention to file a criminal lawsuit against a colluded defendant. The result is that the criminal case is dismissed because of the false intention of the victim to pursue the case. This study, therefore, suggests that the Criminal Procedure Code should be amended as the rights of the victim to separately file a lawsuit in the criminal prosecution process should require prior permission from the prosecutoren_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_144683.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons