Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5786
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสมควร ธิศักดิ์, 2528--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-05-03T02:29:44Z-
dc.date.available2023-05-03T02:29:44Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5786-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (สหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 3) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด และ 4) หาข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 ของสมาชิกสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41 – 50 ปี จบการศึกษาระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดตํ่ากว่า 31 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 – 6 คน การถือครองที่ดิน 41 ไร่ขึ้นไป เนื้อที่ทำการเกษตร จำนวน 21-30 ไร่ และส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดิน 2) ต้นทุน การผลิต 5,112.48 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนการผลิต 9,149.09 บาทต่อไร่ และผลตอบแทนการผลิตสุทธิ 4,036.61 บาทต่อไร่ 3) ประสิทธิภาพการผลิตของสมาชิกสหกรณ์โดยเฉลี่ยแต่ละรายที่ระดับ 1.056 โดยสมาชิกที่ มีประสิทธิภาพสูงกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 55.32 ที่เหลือมีประสิทธิภาพตํ่ากว่าค่าเฉลี่ย ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิต กับปัจจัยการผลิต พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของปัจจัยการผลิตทุกปัจจัยเท่ากับ 1.218 และพบว่า ค่านํ้ามันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นในการผลิตที่สูงขึ้นส่งผล ต่อระดับประสิทธิภาพการผลิตของสมาชิกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ข้อเสนอแนะ ในการบริหารจัดการการผลิตเมล็ดพันธุ์ของสมาชิกสหกรณ์สำคัญ คือ ด้านสภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ควรตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงสภาพดิน ควรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ด้านโรคและแมลงควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธีและเหมาะสมตามหลักวิชาการ พัฒนาเทคนิคการคุมวัชพืช ลดการใช้สารเคมี และด้านการขาดแคลนแรงงานและค่าจ้างแรงงานสูง ควรพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ และใช้ทดแทนแรงงานคน ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดแบบแปลงใหญ่th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.37-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectข้าวโพด--เมล็ดพันธุ์--การผลิตth_TH
dc.titleการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 เพื่อการพัฒนาธุรกิจของสมาชิกสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด จังหวัดตากth_TH
dc.title.alternativeEfficiency analysis of Nakhon Sawan 3 Hybrid corn seed production for business development of Mae Sot Land Settlement Co-operatives Ltd., Members, Tak Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2015.37-
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study the general conditions of corn seed production by Mae Sot Land Settlement Co-operatives, Ltd.; 2) to analyze the cooperative’s costs and returns from corn seed production; 3) to analyze the production efficiency; and 4) to solicit suggestions from cooperative members about improving the management of corn seed production The results showed that 1) the majority of cooperative members were male, in the 41-50 age range, educated to fourth grade level, and had less than 31 years experience growing corn. Most had 4-6 household members and owned 41 rai (1 rai = 1,600m2) of land, out of which 21-30 rai was agricultural land. 2) The average production costs for producing hybrid corn seed were 5,112.48 baht per rai and the average returns were 9,149.09 baht per 1,600 m2, for average net profits of 4,036.61 baht per rai. 3) The average production efficiency per cooperative member was calculated as a value of 1.056, and 55.32% of the members had a higher than average production efficiency, while the others were lower than average. Statistically significant relationships were found between yield and factors of production (confidence level 0.05). The coefficient of factors of production was 1.218. Higher fuel and lubricant costs could influenced members’ production efficiency to a statistically significant degree (confidence level 0.01). 4) It was found that one factor that impacted hybrid corn seed production was the fertility of the soil. Members suggested that farmers should get their soil analyzed and make soil improvements and use the amount and types of fertilizer as recommended based on the analysis. They should use proper methods of pest and disease control and should develop better methods for weed control. They should try to reduce their use of chemical inputs. As for the problem of labor shortage and high labor costs, they should develop appropriate farm machinery to use in place of human labor to increase efficiency for large field corn productionen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152048.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons