กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5786
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 เพื่อการพัฒนาธุรกิจของสมาชิกสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency analysis of Nakhon Sawan 3 Hybrid corn seed production for business development of Mae Sot Land Settlement Co-operatives Ltd., Members, Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมควร ธิศักดิ์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ข้าวโพด--เมล็ดพันธุ์--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 3) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด และ 4) หาข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 ของสมาชิกสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41 – 50 ปี จบการศึกษาระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดตํ่ากว่า 31 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 – 6 คน การถือครองที่ดิน 41 ไร่ขึ้นไป เนื้อที่ทำการเกษตร จำนวน 21-30 ไร่ และส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดิน 2) ต้นทุน การผลิต 5,112.48 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนการผลิต 9,149.09 บาทต่อไร่ และผลตอบแทนการผลิตสุทธิ 4,036.61 บาทต่อไร่ 3) ประสิทธิภาพการผลิตของสมาชิกสหกรณ์โดยเฉลี่ยแต่ละรายที่ระดับ 1.056 โดยสมาชิกที่ มีประสิทธิภาพสูงกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 55.32 ที่เหลือมีประสิทธิภาพตํ่ากว่าค่าเฉลี่ย ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิต กับปัจจัยการผลิต พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของปัจจัยการผลิตทุกปัจจัยเท่ากับ 1.218 และพบว่า ค่านํ้ามันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นในการผลิตที่สูงขึ้นส่งผล ต่อระดับประสิทธิภาพการผลิตของสมาชิกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ข้อเสนอแนะ ในการบริหารจัดการการผลิตเมล็ดพันธุ์ของสมาชิกสหกรณ์สำคัญ คือ ด้านสภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ควรตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงสภาพดิน ควรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ด้านโรคและแมลงควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธีและเหมาะสมตามหลักวิชาการ พัฒนาเทคนิคการคุมวัชพืช ลดการใช้สารเคมี และด้านการขาดแคลนแรงงานและค่าจ้างแรงงานสูง ควรพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ และใช้ทดแทนแรงงานคน ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดแบบแปลงใหญ่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (สหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5786
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152048.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons