Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5803
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปาริฉัตร พุ่มเปี่ยม, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-05-03T03:40:49Z-
dc.date.available2023-05-03T03:40:49Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5803-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร)) --มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา 2) การรับข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและสารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา 3) พฤติกรรมและความต้องการความรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา 4) ความต้องการในการใช้สารธรรมชาติในการป้องกันกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีและสารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่ปลูกมะลิลาในอำเภอเก้าเลี้ยว จำนวนทั้งสิ้น 982 ราย ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 ราย สุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรเกือบสองในสามเป็นหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.32 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การปลูกมะลิลาเฉลี่ย 9.22 ปี จำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.31 คนต่อครัวเรือน ทำสวนมะลิลาเป็นอาชีพรอง มีรายได้จากการขายผลผลิตมะลิลา เฉลี่ย 40,200 บาท/ปี ต้นทุนการปลูกมะลิลา เฉลี่ย 7,424.85 บาท/ปี มีพื้นที่ปลูกมะลิลา เฉลี่ย 1.13 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระดับมาก (2) เกษตรกรเกือบสองในสามเคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และเกษตรกรส่วนใหญ่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารธรรมชาติป้องกันกำจัดศัตรูพืช (3) เกษตรกรทั้งหมดใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืช เฉลี่ย 8.58 ครั้งต่อเดือน สำหรับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ก่อน ระหว่าง และหลังการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติตามคำแนะนำทุกครั้ง (4) เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการใช้สารธรรมชาติแทนการใช้สารเคมีในการป้องกันกําจัดศัตรูดอกมะลิลา (5) ในภาพรวมเกษตรกรมีระดับปัญหาเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและสารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะควรมีการอบรมให้ความรู้ด้าน เทคนิค วิธีการ เกี่ยวกับการใช้สารธรรมชาติและการใช้สารเคมีอย่างจริงจังและต่อเนื่องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.225-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectสารเคมีทางการเกษตรth_TH
dc.subjectมะลิลา--การปลูกth_TH
dc.subjectเกษตรกร--ไทย--นครสวรรค์th_TH
dc.subjectมะลิลา--โรคและศัตรูพืชth_TH
dc.titleพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลาในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์th_TH
dc.title.alternativeBehaviors of the farmer in using the pesticide for jasmine production in Kao Liao District of Nakhon Sawan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2015.225-
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study are to examine (1) general information of the farmers planting jasmines, (2) the farmers’ perceptions of the news and knowledge dealing with using chemical and organic pesticides for jasmine production, (3) the farmers’ behaviors and needs for the knowledge in using pesticides, (4) the farmers’ needs of using organic pesticides for jasmine production, and (5) problems and recommendations of the farmers in using chemical and organic pesticides. The population of the study was 982 farmers planting jasmines in Kao Liao district, Nakhon Sawan province. With random sampling employed, 169 farmers were selected to participate in the study. The instrument used in the study was a structured interview and a focused group. The study found that two from three parts of the farmers were female. They were 53.32 years old in average, graduated primary school level, and experienced in jasmine production for 9.22 years. Each household had 2.31 workers in average and planted jasmines as a second job. The farmers gained income for 40,200 baht/ year. The cost of jasmine farming was 7,424.85 baht/ year. In average, each farmer had 1.13 rai for jasmine planting area. Most of the farmers had knowledge about using pesticide for jasmine production in a high level. Almost two from three parts of the farmers gained the knowledge dealing with chemical and organic pesticide use. All of the farmers used chemical pesticides 8.58 time/ month. In terms of the farmers’ behaviors, they followed all instructions in initiating process, during process, and final process when using pesticides. Most farmers wanted to use organic instead of chemical pesticides in jasmine production. In overall, the farmers had problems dealing with pesticides in a moderate level and recommended that training about techniques and approaches using organic pesticides should be organized intensively and continuouslyen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152376.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons