กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5803
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลาในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behaviors of the farmer in using the pesticide for jasmine production in Kao Liao District of Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปาริฉัตร พุ่มเปี่ยม, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: สารเคมีทางการเกษตร
มะลิลา--การปลูก
เกษตรกร--ไทย--นครสวรรค์
มะลิลา--โรคและศัตรูพืช
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา 2) การรับข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและสารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา 3) พฤติกรรมและความต้องการความรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา 4) ความต้องการในการใช้สารธรรมชาติในการป้องกันกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีและสารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่ปลูกมะลิลาในอำเภอเก้าเลี้ยว จำนวนทั้งสิ้น 982 ราย ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 ราย สุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรเกือบสองในสามเป็นหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.32 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การปลูกมะลิลาเฉลี่ย 9.22 ปี จำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.31 คนต่อครัวเรือน ทำสวนมะลิลาเป็นอาชีพรอง มีรายได้จากการขายผลผลิตมะลิลา เฉลี่ย 40,200 บาท/ปี ต้นทุนการปลูกมะลิลา เฉลี่ย 7,424.85 บาท/ปี มีพื้นที่ปลูกมะลิลา เฉลี่ย 1.13 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระดับมาก (2) เกษตรกรเกือบสองในสามเคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และเกษตรกรส่วนใหญ่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารธรรมชาติป้องกันกำจัดศัตรูพืช (3) เกษตรกรทั้งหมดใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืช เฉลี่ย 8.58 ครั้งต่อเดือน สำหรับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ก่อน ระหว่าง และหลังการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติตามคำแนะนำทุกครั้ง (4) เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการใช้สารธรรมชาติแทนการใช้สารเคมีในการป้องกันกําจัดศัตรูดอกมะลิลา (5) ในภาพรวมเกษตรกรมีระดับปัญหาเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและสารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะควรมีการอบรมให้ความรู้ด้าน เทคนิค วิธีการ เกี่ยวกับการใช้สารธรรมชาติและการใช้สารเคมีอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร)) --มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5803
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152376.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons