Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5806
Title: การผลิตและการตลาดมังคุดคุณภาพของเกษตรกรอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
Other Titles: Mangosteen quality production and marketing by farmers in Langsuan District, Chumphon Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัคศจี ดำกิ่ง, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มังคุด--การผลิต--ไทย--ชุมพร
มังคุด--การตลาด--ไทย--ชุมพร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดคุณภาพ (2) สภาพการผลิตและการตลาดมังคุดคุณภาพ (3) ความคิดเห็นของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดมังคุดคุณภาพ (4) ความรู้และแหล่งความรู้ในการผลิตมังคุดคุณภาพ และ(5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดคุณภาพ ประชากร คือเกษตรกรสมาชิกกลุ่มเครือข่าย ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 54.2 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 52.37 ปี เกษตรกรทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มเครือข่ายมังคุดคุณภาพเพื่อการส่งออก รองลงมาร้อยละ 60.0 เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 8.90 ไร่ มีประสบการณ์การปลูกมังคุดเฉลี่ย 19.74 ปี มีประสบการณ์การผลิตมังคุดคุณภาพเฉลี่ย 4.79 ปี เกษตรกรร้อยละ 53.5 มีการปลูกมังคุดเป็นสวนผสมร่วมกับทุเรียนและลองกอง มีแรงงานที่ใช้ในการทำสวนมังคุดคุณภาพเฉลี่ย 4.65 คน เป็นแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.91 คน เป็นแรงงานรับจ้างเฉลี่ย 3.84 คน เกษตรกรมีรายได้ในการทำสวนมังคุดคุณภาพเฉลี่ย 15,508.26 บาท/ไร่ มีต้นทุนรวมในการผลิตมังคุดคุณภาพเฉลี่ย 6,602.92 บาท/ไร่ (2) สภาพการผลิตมังคุดมีการปฏิบัติการผลิตภายใต้ระบบการจัดการคุณภาพ : GAP มังคุด เกษตรกรทั้งหมดนำผลผลิตไปรวบรวมที่กลุ่มและใช้วิธีการประมูลราคาในการจำหน่าย มีราคาผลผลิตเฉลี่ย 32.25 บาท/กก. (3) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดมังคุดคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความคิดเห็นที่เกษตรกรเห็นด้วยมากที่สุด 3 อันดับคือ ผลผลิตมังคุดคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ, การผลิตมังคุดให้ได้คุณภาพและมีมาตรฐานทำให้ได้ราคาผลผลิตที่สูงขึ้น, การรวมกลุ่มเกษตรกรสามารถต่อรองราคากับผู้รับซื้อได้ (4) เกษตรกรร้อยละ 50.4 มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตมังคุดคุณภาพในระดับมากที่สุด แหล่งความรู้ที่เกษตรกรสามารถรับความรู้ได้ในระดับมากที่สุด คือ สื่อบุคคล ได้แก่ ประธานกลุ่ม คณะกรรมการกลุ่ม แหล่งความรู้ที่เกษตรกรสามารถรับความรู้ได้ในระดับมาก คือ สื่อกลุ่ม ได้แก่ การประชุมและการฝึกอบรม (5) เกษตรกรมีปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาในเรื่องราคาค่าปัจจัยการผลิต ค่าจ้างแรงงาน และขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิต มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐช่วยควบคุมราคาและคุณภาพปัจจัยการผลิต ควบคุมราคาการจ้างแรงงาน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5806
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152378.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons