Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/580
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลชัย รัตนสกาววงศ์th_TH
dc.contributor.authorร่มปรางค์ สวมประคำ, 2508-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-13T06:34:36Z-
dc.date.available2022-08-13T06:34:36Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/580en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การสิ้นสุดสมาชิกภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรณีที่ไม่จำต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวความคิดในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ และอำนาจ หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ (2) ศึกษาถึงเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการกระทำอันต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอันเป็นเหตุให้สิ้นสุดสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญ และอำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) ศึกษาถึงการวินิจฉัยเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรณีเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งไม่ต้องขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกรณีดังกล่าวให้ชัดเจนต่อไป การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร โดยค้นคว้าจากบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ กฎหมาย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เอกสาร ตำราทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวความคิดในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ นั้น เพื่อทำหน้าที่ในการคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และควบคุมมิให้องค์กรของรัฐกระทำการ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญของไทยตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ พบว่ามีหลากหลาย รวมถึงอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) เจตนารมณ์และ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการกระทำอันต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบในการกำหนดลักษณะและพฤติการณ์ของบุคคลที่จะเข้าสู่กระบวนการ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตั้งแต่ขั้นตอนการเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง จนถึงขั้นตอนภายหลังที่ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองผ่านขั้นตอนและกระบวนการเข้าสู่ตำ แหน่งแล้ว แต่จากการศึกษาพบว่า บางกรณีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการกระทำอันต้องห้าม มีลักษณะที่ประจักษ์ชัดเจนโดยองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจสอบได้โดยตรง ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้เป็นอำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัย (3) บทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม ถือเป็นกรณีเป็นที่ประจักษ์ ควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรโดยสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาโดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สามารถมีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองที่ต้องด้วยเหตุดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งได้โดยไม่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สำหรับกรณีการกระทำ อันต้องห้าม ถือเป็นกรณีที่ไม่ประจักษ์ชัดเจน ควรกำหนดให้เป็นกรณีที่จำต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และ (4) ควรมีการแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งแยกให้องค์กรวินิจฉัยหรือศาล ที่มีอำนาจในการตรวจสอบและวินิจฉัยอย่างชัดเจนเพื่อเป็นการลดขั้นตอน และกระบวนการเกี่ยวกับการวินิจฉัย ความสิ้นสุดสมาชิกภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงไปได้เป็นอย่างมากth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2012.241en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectนักการเมือง--ไทยth_TH
dc.subjectความผิดทางการเมืองth_TH
dc.subjectการทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมืองth_TH
dc.subjectศาลรัฐธรรมนูญ--ไทยth_TH
dc.titleการสิ้นสุดสมาชิกภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีที่ไม่จำต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยth_TH
dc.title.alternativeTermination of membership of persons holding political positions that should not be referred to the constitutional court for considerationth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2012.241en_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to: 1) study the concept of the establishment of the constitutional court as well as its authority; 2) study the intention and the provisions of the Constitution relating to the qualifications, prohibitions and prohibited acts of persons holding political positions resulting from their termination of membership under the Constitution and by authority of the relevant organizations or agencies; 3) study the decisions regarding termination of membership of the persons holding political positions in any case that has clear evidence so that it should not be referred to the Constitution Court; and 4) propose guidelines to amend the Constitution for making clear provisions on this matter. The present research is a qualitative research by method of documentary research from the provisions of the Constitution, laws, the decision of the Constitutional Court including documents, academic texts and related researches. The research results showed that: 1) The main idea of establishing and the authority of the constitutional is to protection of the Constitution as the supreme law and control organs of the state not to act in contrary to the Constitution. The authority of the Thai Constitutional Court, however, appears that there are several objectives including a decision regarding termination of membershipofpersonsholdingpoliticalpositions.2) The provisions of the Constitution relating to the qualification prohibitions and prohibited acts of persons holding political positions purpose to establish a framework forpreferences and circumstances of the individual to enter the political process as from commencement of the right to be a candidate until the candidate is entitled to the position. From the study found that some cases of prohibitions and prohibited acts are clearly manifested by the relevant organizations or agencies which do not need to be an authority of the Constitutional Court for making a decision.3) The qualifications and prohibitions of persons holding political positions in any case that has clear evidence should be defined as a function of the relevant organizationsor agencies such as the Election Commission, House of Representatives by Secretariatof the House of Representatives, or the Senate by the Senate Secretariat, as the case may be. The prohibited acts of persons holding political positions that are not the case seemed clear should be the matter to the Constitutional Court for consideration. And 4) There should be the amendment of the provisions of the Constitution and the relevant laws for that purposes. This will reduce the steps and process of decision regarding termination of membership of persons holding political positions.en_US
dc.contributor.coadvisorภาณินี กิจพ่อค้าth_TH
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib138820.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons