Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5815
Title: | การตัดสินใจผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดลำพูน |
Other Titles: | Decision making of off-season longan production by famers in Lamphun Province |
Authors: | พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา สายสุนีย์ สายวังกิจ, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | ลำไย--การผลิต เกษตรกร--ไทย--ลำพน--การตัดสินใจ. |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยนอกฤดู 2) สภาพการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกร 3) การตัดสินใจในการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยนอกฤดู 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการตัดสินใจการผลิตลำไยนอกฤดู ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.72 ปี มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 2.19 คน ระดับการศึกษาสูงสุดคือประถมศึกษา เกษตรกรมากกว่าสองในสามประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีประสบการณ์ในการผลิตลำไยนอกฤดูเฉลี่ย 4.64 ปี แรงงานที่ใช้ในการผลิตลำไยนอกฤดูเฉลี่ย 3.15 คน เกษตรกรมากกว่าสองในสามมีรายได้จากการผลิตลำไยนอกฤดูประมาณ 50,000 บาทต่อไร่และมีต้นทุนในการผลิตลำไยนอกฤดูประมาณ 10,000 บาทต่อไร่ 2) เกษตรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติสมํ่าเสมอตามขั้นตอนการผลิตลำไยนอกฤดูทั้ง 4 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมต้น การชักนำการออกดอก การดูแลรักษาเพื่อให้ผลผลิตได้คุณภาพ และการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 3) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรพบว่า ด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องในระดับมากที่สุดในการตัดสินใจในการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกร ส่วนด้านกายภาพ ด้านสังคม และด้านเทคนิคเกี่ยวข้องในระดับมาก 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านเศรษฐกิจในระดับมาก ส่วนปัญหาด้านปัจจัยทางด้านกายภาพ ปัญหาด้านปัจจัยทางด้านเทคนิค และด้านสังคมนั้นอยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะในระดับมากที่สุด 2 ประเด็น ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำลำไยนอกฤดูและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการผลิตลำไยนอกฤ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร)) --มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5815 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
152380.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License