กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5823
ชื่อเรื่อง: ผลของออกซิน ไซโตไคนินและจุลินทรีย์ Azotobacter sp. ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหญ้าแฝกลุ่มและหญ้าแฝกดอน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of Auxin, Cytokinnin and Azotobacter sp. on tissue culture of Vetiveria zizanioides and Vetiveria nemoralis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรินทร์ นันทากุล, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: หญ้าแฝก--การขยายพันธุ์
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเจริญเติบโตของหญ้าแฝกลุ่มและหญ้าแฝกดอน เมื่อใช้ออกซินและไซโตไคนินที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน 2) ศึกษาการใช้ชนิดเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชต่อการเจริญเติบโตของหญ้าแฝก ผลการวิจัยการทดลองที่ 1 พบว่าการใช้ออกซิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ทาให้ความสูงของ หญ้าแฝกลุ่มและหญ้าแฝกดอนเพิ่มขึ้น แตกต่างกับการไม่ใส่ออกซินอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ การใช้ ไซโตไคนิน 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่ทาให้ความสูงเพิ่มขึ้นโดยหญ้าแฝกลุ่มสูงน้อยกว่าหญ้าแฝกดอน แต่ช่วยกระตุ้นให้จานวนหน่อและใบเพิ่มมากขึ้น และการใช้ออกซิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมด้วยทาให้จานวนหน่อของต้นหญ้าแฝกลุ่มและหญ้าแฝกดอนเพิ่มมากขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ การทดลองที่ 2 พบว่าการใส่เชื้อจุลินทรีย์ Azotobacter sp. ชนิด AF104/3.1 และ AF146/2 ความสูงและจานวนหน่อของหญ้าแฝกลุ่มและหญ้าแฝกดอนเพิ่มมากขึ้นกว่าการไม่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ โดยความสูงหญ้าแฝกเห็นชัดเจนในช่วง 7 วันแรกของการทดลอง สาหรับการแตกใบและหน่อเห็นชัดเจนในช่วง 14-21 วันของการทดลอง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5823
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153200.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons