กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5827
ชื่อเรื่อง: การจับตามมาตรา 78 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Arrest under section 78 (3) of the Criminal Procedure Code
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
โกวิทย์ งามหอม, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการจับ ตามมาตรา 78 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดพื้นฐานหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลตามหลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายเรื่องการจับและทฤษฎีการใช้อำนาจรัฐควบคุมปัญหาอาชญากรรม และรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองโดยการนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี ศึกษาความสมดุลระหว่างหลักการใช้อำนาจรัฐกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในคดีอาญาทำความเข้าใจความเป็นมาและเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นก่อนการฟ้องคดีซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานตำรวจของไทยและต่างประเทศ บทบาทหน้าที่และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามมาตรา 78 (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคหลักการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานทำการจับโดยไม่มีหมายจับของศาลตามมาตรา 78 (3) ประกอบมาตรา 66 (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อหาข้อสรุปและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาวิจัยตำรากฎหมาย ความเห็นทางวิชาการ บทความ เอกสารรายงานการวิจัยต่าง ๆ คำพิพากษาฎีกา ข้อบังคับ กฎระเบียบ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นำมาวิเคราะห์หาบทสรุป ผลการศึกษาพบว่าหลักการจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไทยได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนที่กำาหนดให้รัฐต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานส่วนบุคคลไม่ให้ถูกละเมิดจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น การจับตัวบุคคลซึ่งประทบต่อสิทธิและเสรีภาพจะกระทำได้ต่อเมื่อกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้โดยให้หน่วยงานศาลซึ่งเป็นองค์กรกลางเข้ามามีส่วนช่วยตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้ออกหมายจับ เจ้าพนักงานจะจับกุมผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลไม่ได้ แต่หากเคร่งครัดต่อหลักเกณฑ์นี้การปฏิบัติงาน ของตำรวจและพนักงานฝ่ายปกครองในการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมอาจขาดประสิทธิภาพและไม่ทันต่อเหตุการณ์ มาตรา 78 (3) ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 จึงนำเอาหลักการจับ “โดยมีเหตุผลสมควร” (Probable Cause) ของ ตำรวจสหรัฐอเมริกามาใช้เพื่อให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจจับกุมโดยไม่มีหมายจับได้เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนไม่อาจของให้ศาลออกหมายจับได้ทันและมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลนั้นน่าจะได้กระทำความผิดและเชื่อว่าจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานและในทางปฏิบัติผู้ที่ต้องใช้ดุลพินิจเป็นพนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจชั้นผู้น้อย ตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่คับขันและเวลาที่จํกัดไม่อาจไต่ตรองหรือปรึกษาหารือเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องก่อนได้ อีกทั้งหากเกิดความผิดพลาดทำให้การจับไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ทำให้มีการตัดสินใจปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยไปก่อนเพราะไม่มั่นใจหลักการตีความกฎหมายที่ใช้ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายกรณีนี้จึงไม่ประสบผลสำเร็จ ต่างจากตำรวจสหรัฐอเมริกาดังนั้นหากต้องการให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพผู้ศึกษาวิจัยจึงเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องกำหนดแนวทางให้ผู้ปฏิบัติงานได้ถือปฏิบัติที่ชัดเจน และวางมาตรการตรวจสอบภายหลังการจับเพื่อความถูกต้อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5827
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_151791.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons