Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5829
Title: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตสับปะรดของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
Other Titles: Agricultural extension needs of pineapple production by farmers in Nong Khai Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรรณพ สอนชา, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: สับปะรด--การปลูก
การส่งเสริมการเกษตร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด (2) สภาพการผลิตสับปะรดของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด(3) ความรู้ในการปลูกสับปะรดของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตสับปะรด ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.49 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสบการณ์ 9.23 ปี มีที่ดินเป็นของตนเอง พื้นที่เฉลี่ยจานวน 6.53 ไร่ต่อครัวเรือน รายได้จากภาคการเกษตรในปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 363,730.77 บาทต่อครัวเรือน รายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 19,153.85 บาทต่อครัวเรือน (2) สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เตรียมดินด้วยวิธีไถดะและไถแปร ใช้พันธุ์ปัตตาเวียในการปลูกทั้งหมด ปลูกแบบแถวคู่ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีสูตร 21–0–0, 46–0–0 และ 0–0–60 ใช้โบรมาซิลป้องกันกำจัดวัชพืช มีอายุในการเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 16.26 เดือน หลังเก็บเกี่ยวแล้วนาส่งโรงงานใน 1–2 วัน (3) เกษตรส่วนมากมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกสับปะรด โดยเฉพาะเรื่อง การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว (4) ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ด้านเนื้อหาวิธีการปลูก การดูแลรักษา สับปะรด ด้านวิธีการส่งเสริมโดยการเยี่ยมบ้านและสวนสับปะรด (5) เกษตรกรมีปัญหาเรื่องการปลูกและการดูแลรักษาสับปะรดโดยภาพรวม
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5829
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153203.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons