Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5852
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: People's participation in environment management of sub-district administrative organizations in Pak Phanang District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณดี มัยยะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล--การจัดการ--แง่สิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อม--การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ สิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราช (3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของ องค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรที่ศึกษาเป็นประชาชนขององค์การบริหารส่วน ตำบลในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ คณะผู้บริหาร พนักงานส่วนตำบล และประชาชนผู้มารับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบล 16 แห่ง จำนวน 384 คน เครื่องมีอที่ใช้เก็บข้อมูลเป็น แบบสอบถาม โดยมีค่าความตรงและความน่าเชื่อถือเท่ากับ 0.67 และ 0.97 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชบ้างเป็นบางครั้ง (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการ สิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลได้แก่ ร่วมในการปฏิบัติตามแผน ร่วมรับผลประโยชน์ ร่วมในการ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล ร่วมในการเลือกแนวทางและวางแผน ร่วมในการค้นหาปัญหา สาเหตุ และร่วม ในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาโดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ สิ่งแวดด้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ (3) สำหรับปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมใน การจัดการสิ่งแวดล้อมได้แก่ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแผน การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ การ พัฒนาการตรวจสอบและติดดามประเมินผล การมีส่วนร่วมในการเลือกแนวทางและการวางแผน การมีส่วนร่วม ในการค้นหาปัญหา สาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5852
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108621.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons