กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/590
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านบริหารจัดการองค์กรกับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล ของเภสัชกรโรงพยาบาลในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The relation between personal factors, organization management factors with the standard of hospital pharmacy of hospital pharmacist in the Inspection Region 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม กัญญชนก เพ็ชรไทย, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมโภช รติโอฬาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เภสัชกรรมของโรงพยาบาล--การบริหาร โรงพยาบาลชุมชน--ระบบการจ่ายยา |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน (2) ปัจจัยการบริหารจัดการองค์กร (3) การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงานและปัจจัยการบริหารจัดการองค์กรกับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล ของเภสัชกรโรงพยาบาลในเขตตรวจราชการที่ 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเภสัชกรทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตตรวจราชการที่ 2 ทั้งหมด 291 คน แบนสัมภาษณ์มีค่าความเที่ยงรวมเท่ากัน 0.732 ได้รับแบบสอบถามคืน 210 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 72.16 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียรสัน ไคสแควร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นเภสัชกร ร้อยละ 77.6 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 31.12 ปี มีวุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ร้อยละ 78.6 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 49.5 มีอายุราชการเฉลี่ย 7.85 ปี งานที่รับผิดชอบส่วนใหญ่เป็นงานบริการผู้ป่วย ร้อยละ 74.6 อายุงานปัจจุบันที่รับผิดชอบเฉลี่ย 4 ปี (2) ปัจจัยการบริหารจัดการองค์กร พบว่า ภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานเภสัชกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และผู้บังคับบัญชามีนโยบายสนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุดการบริหารจัดการองค์กรของหน่วยงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3) การปฏิบัติตามมาตรฐานเภสัชกรรมโรงพยาบาลในแต่ละมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่มีระดับสูง ได้แก่ “ภาวะความเป็นผู้นำและบริหารจัดการงานเภสัชกรรม” และมาตรฐานที่ระดับตํ่า คือ “การศึกษาวิจัย” (4) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า เพศ และอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล อายุงานปัจจุบันที่รับผิดชอบ การรับรู้บทบาทหน้าที่ ความพึงพอใจในงาน แรงจูงใจในการทำงาน ภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชา การบริหารจัดการองค์กร และอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/590 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
105496.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License