Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5918
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorชัยวัฒน์ คงสม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธวัชชัย ประทักษ์ใจ, 2500--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-05-10T06:27:10Z-
dc.date.available2023-05-10T06:27:10Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5918-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี 2) กระบวนการผลิตสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) สภาพการตลาดของเกษตรกรผู้ผลิตสตรอว์เบอร์รี ตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) สภาพปัญหาและอุปสรรคของการผลิตและการตลาดสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 5) แนวทางการพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทาง การเกษตรที่ดี ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 41 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษา ได้รับแรงจูงใจในการปลูกสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเกษตรกร มากกว่าครึ่งเรียนรู้ด้วยตนเอง เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้จากภาคการเกษตรไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี มีรายจ่ายในครัวเรือน ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ใช้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับเงินทุนของตนเอง เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 2.20 ไร่ มีประสบการณ์เฉลี่ย 2.66 ปี 2) กระบวนการผลิตสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เกษตรกรมากกว่าครึ่งใช้แหล่งน้ำที่ไม่ได้ผ่านชุมชนและคอกสัตว์ ส่วนใหญ่พื้นที่ผลิตไม่เคยเป็นพื้นที่ทิ้งขยะ โรงเก็บสารเคมี หรือพื้นที่คอกสัตว์ สถานที่เก็บสารเคมีทางการเกษตรอยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยแยกเป็นหมวดหมู่และเก็บรวมกัน เกษตรกรใช้สารเคมีตามคำบอกเล่าของเกษตรกรแปลงข้างเคียงและตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ มีการอ่านฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากฉีดพ่นสารเคมี 5 วัน หรือเก็บเกี่ยวผลผลิต ตามจำนวนวันที่ระบุในฉลากหลังจากฉีดพ่นสารเคมี ผลผลิตเก็บไว้ในสถานที่มีอากาศถ่ายเทและวางผลผลิตบนที่รอง 3) สภาพการตลาด พบว่า สตรอว์เบอร์รีที่ผู้บริโภคนิยมคือ พันธุ์พระราชทาน 80 มากที่สุด รองลงมาคือพันธุ์ 329 ผลผลิตส่วนใหญ่มีพ่อค้ามารับซื้อถึงไร่ แม้ว่าเกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อจำหน่ายแต่ราคายังถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลางตามขนาดของผลผลิต ราคาผลผลิตสาหรับจำหน่ายเพื่อบริโภคสด ราคาเฉลี่ย 80.54 บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่ายเพื่อส่งโรงงาน ราคาเฉลี่ย 42.80 บาทต่อกิโลกรัม 4) ปัญหาด้านการผลิตที่พบ คือ เกษตรกรไม่มีเงินทุนเป็นของตนเองและปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ส่วนปัญหาด้านการตลาดที่พบ คือ ราคาผลผลิตตกต่า และขาดอำนาจต่อรองในการกำหนดราคาสินค้า และ 5) แนวทางการพัฒนา ระบบการผลิตและการตลาดสตรอว์เบอร์รีคือ ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อกำหนดแนวทางการผลิตและการตลาด และเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ร่วมกับมาตรฐานการผลิตให้กับผลผลิต พร้อมกำหนดมาตรฐานราคาและคุณภาพผลผลิตให้ชัดเจนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectสตรอว์เบอร์รี--การปลูกth_TH
dc.subjectสตรอว์เบอร์รี--การตลาดth_TH
dc.titleการผลิตและการตลาดสตรอว์เบอร์รีของเกษตรกรที่มีการผลิตตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeStrawberry production and marketing adhering to good agricultural practice by farmers in Borkhaew Sub-district, Samoeng District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study: 1) the economic and social background of strawberry farmers in the study area; 2) their Good Agricultural Practice (GAP) production process for strawberry; 3) strawberry marketing; 4) strawberry production and marketing problems; and 5) recommendations for developing the strawberry production system and marketing. This research used surveying approach to collect the data from 50 strawberry growers in Borkaew Sub-district, Samoeng District, Chiang Mai Province. An interview questionnaire was used to collect the data. The data were analyzed by using frequency, average, and percentage. The results of the study are concluded as follows: 1) average age of the farmers was 41 years, educational background was from primary school to secondary school levels, the farmers were encouraged to grow strawberries by extension officials, and more than half of the farmers learned how to grow strawberries by themselves. Most of the farmers have been earning less than 200,000.00 baht per year from agriculture and spending less than 100,000.00 baht per year for household expenses. The sources of funding for farming are loans from the Bank of Agriculture and Agricultural Cooperatives and using their own savings. Average size of the strawberry farm was 2.20 rai (1 rai=1,600 m2). Average years of experience of strawberry growing of the farmers was 2.66 years; 2) strawberry production process according to good agricultural practice. More than half the farmers used water that did not pass through the community and stables. Most areas do not always produce a litter, chemical plant or animal farms. The storage of agricultural chemicals from residential segregation into categories and stored together. Farmers used chemicals follow by neighboring farmers and agricultural extension officers. Read the chemical label before used. Harvesting 5 days after chemical spraying or by the number of days specified on the label after spraying. Products was keep in well air ventilation and placed them in a pile on the substrate. 3) regarding to the strawberry marketing, most consumers favored the Royal 80 variety strawberry, followed by Number 329 strawberry. And most of the farmers were selling their strawberries to a middle man at their farm. The farmers were in groups for marketing their strawberries, however the price was still influenced by the middle man and based on the size of the berries. Price of strawberry for fresh consumption was 80.54 baht per kilogram and 42.80 baht per kilogram for industrial use; 4) the problems of strawberry production were lack of sources of funding and higher costs of production input. Problems of strawberry marketing were the price of strawberry was low and the farmers lacked bargaining power; and 5) for development of strawberry production and marketing it was recommended to encourage the farmers to work together to set up a farmer group in order to develop a production and marketing plan together, to share knowledge and technology, to improve production standards and production area identity development, and lastly, to set up a standard for strawberry price based on the quality.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153201.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons