กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/591
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of a referral communication model for Emergency Patients Dansai Crown Prince Hospital, Loei Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา พรพิไล นิยมถิ่น, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ การสื่อสาร--การจัดการ ผู้ป่วยหนัก |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานทางการพยาบาลฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย 2) เปรียบเทียบ คุณค่าของรูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนและหลังการพัฒนา และ 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ การสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พยาบาลที่ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน จำนวน 50 คน และ 2) แบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนและหลังการพัฒนาอย่างละ 44 ฉบับ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนการพัฒนา ศึกษาปัญหาการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วย และแนวทางการพัฒนารูปแบบ 2) ระยะพัฒนา อบรมการสื่อสารในการส่ง ต่อผู้ป่วยฉุกเฉินให้แก่พยาบาลและพัฒนารูปแบบ และ 3) ระยะหลังการพัฒนา นำรูปแบบไปใช้ในการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน และประเมินผลการใช้รูปแบบหลังการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) รูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน 2) แบบสอบถามคุณค่าของรูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน และ 3) แบบประเมิน ประสิทธิภาพของการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วย ความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 เท่ากับ 0.88 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้นมีแนวทางการสื่อสารแบบเอสบา 3 ขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมการส่งต่อ การดำเนินการส่งต่อ และการสิ้นสุดการส่งต่อร่วมกับการสื่อสารทางโทรศัพท์ และแอพพลิเคชันไลน์ 2) คุณค่าของรูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินหลังการพัฒนาสูงกวาก่อนการพัฒนาทั้งด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ประสิทธิภาพของการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินรูปแบบใหม่สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/591 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext 151570.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License