Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5929
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรางคณา จันทร์คง | th_TH |
dc.contributor.author | ปางชนม์ เตี้ยแจ้, 2531- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-05-10T07:24:41Z | - |
dc.date.available | 2023-05-10T07:24:41Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5929 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงประเมินผลในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน (1) ปัจจัยนำเข้า (2) กระบวนการดำเนินงาน และ (3) ผลลัพธ์ด้านสุขภาพการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จำนวน 50 คน โดยเลือกเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วย (1) แบบสอบถาม ประเมินปัจจัยนำเข้า และกระบวนการดำเนินงาน ที่ผ่านการทดสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.96 และอำนาจการจำแนกมีค่ามากกว่า 0.2 ในทุก ๆ ข้อคาถาม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) ข้อมูลชนิดทุติยภูมิแสดงผลลัพธ์ด้านสุขภาพในเรื่องการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้กับผู้ที่มารับบริการกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจประเภทผู้ป่วยนอก โดยนำเสนอเป็นร้อยละ และการวิเคราะห์แนวโน้มค่าใช้จ่ายจากการให้บริการด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอก ปี พ.ศ. 2554 – 2563 ด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยแบบแบ่งช่วง ผลการศึกษาจากการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายในครั้งนี้พบว่า (1) การประเมินปัจจัยนาเข้าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือการแต่งตั้งคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดโดยกำหนดขอบเขตหน้าที่และมอบหมายงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอก (2) การประเมินกระบวนการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือการขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลอย่างเป็นรูปธรรมผ่านคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด และ (3) การประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการให้บริการด้านสุขภาพก่อนและหลังดำเนินการภายใต้นโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล พบว่าค่าใช้จ่ายในการให้บริการด้านสุขภาพในกลุ่มโรคดังกล่าวก่อนการดำเนินให้เป็นไปตามทิศทางนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ประมาณการอยู่ที่ 32,691.10 บาทต่อเดือน (95% CI : 27,612.43 ถึง 37,769.86) ซึ่งแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการให้บริการด้านสุขภาพก่อนและหลังการดำเนินตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value for baseline trend เท่ากับ 0.042) ลดลงอยู่ที่ 890.42 บาท ต่อเดือน (95% CI: -1,125.589 ถึง -655 .257) | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยนอก--การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผมในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Evaluation of rational drug use policy on antibiotics in respiratory tract infections for outpatients at Nong Ya Plong Hospital, Phetchaburi Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to evaluate (1) input, (2) operational process and (3) health outcomes in the implementation of rational antibiotic drug use (RDU) policy in respiratory tract infections (RTI) for outpatients at Nong Ya Plong Hospital in Phetch Phetchaburi province. The research was conducted in 50 healthcare providers at the hospital. The research tools were: (1) a questionnaire for collecting data on input and operational process of RDU policy for RTI in outpatients; the questionnaire was reviewed by experts and then revised as per their comments; and its Cronbach's alpha coefficient was 0.96 and its discrimination power was higher than 0.2 in all the questions; and (2) medical records with secondary data on outpatients’ health outcomes from 2011 to 2 2020. The data obtained were analyzed by using statistics of frequency distribution, percentage, average and standard deviation, including percentages of antibiotic use for RTI in outpatie outpatients, and trends in antibiotic drug spending under the policy on ratio rational antibiotic use for RTI in outpatients, based on the interrupted time series analysis. The results revealed that: (1) The overall input evaluation showed the highest favorable level, the highest input score being the establishment of the pharmaceutical therapeutic committee (PTC) for policy implementation with clear job responsibilities and task assignments. ( The operational process score was at a high level, the highest score being for the substantial driving of the RDU policy through the PTC. (3) The overall health outcome score was at a high level; the monthly RTI antibiotic drug spending for outpatients dropped significantly from 32,691.10 baht (95% CI: 27,612.43–37,769.86) before the RDU policy implementation to 890.42 baht (95% CI: 655.26 655.26–1,125 .59) (P -value = 0.042) after the policy | en_US |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License