กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5929
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผมในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The evaluation of rational drug use policy on antibiotics in respiratory tract infections for outpatients at Nong Ya Plong Hospital, Phetchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา จันทร์คง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปางชนม์ เตี้ยแจ้, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ป่วยนอก--การใช้ยา
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงประเมินผลในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน (1) ปัจจัยนำเข้า (2) กระบวนการดำเนินงาน และ (3) ผลลัพธ์ด้านสุขภาพการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จำนวน 50 คน โดยเลือกเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วย (1) แบบสอบถาม ประเมินปัจจัยนำเข้า และกระบวนการดำเนินงาน ที่ผ่านการทดสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.96 และอำนาจการจำแนกมีค่ามากกว่า 0.2 ในทุก ๆ ข้อคาถาม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) ข้อมูลชนิดทุติยภูมิแสดงผลลัพธ์ด้านสุขภาพในเรื่องการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้กับผู้ที่มารับบริการกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจประเภทผู้ป่วยนอก โดยนำเสนอเป็นร้อยละ และการวิเคราะห์แนวโน้มค่าใช้จ่ายจากการให้บริการด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอก ปี พ.ศ. 2554 – 2563 ด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยแบบแบ่งช่วง ผลการศึกษาจากการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายในครั้งนี้พบว่า (1) การประเมินปัจจัยนาเข้าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือการแต่งตั้งคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดโดยกำหนดขอบเขตหน้าที่และมอบหมายงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอก (2) การประเมินกระบวนการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือการขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลอย่างเป็นรูปธรรมผ่านคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด และ (3) การประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการให้บริการด้านสุขภาพก่อนและหลังดำเนินการภายใต้นโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล พบว่าค่าใช้จ่ายในการให้บริการด้านสุขภาพในกลุ่มโรคดังกล่าวก่อนการดำเนินให้เป็นไปตามทิศทางนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ประมาณการอยู่ที่ 32,691.10 บาทต่อเดือน (95% CI : 27,612.43 ถึง 37,769.86) ซึ่งแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการให้บริการด้านสุขภาพก่อนและหลังการดำเนินตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ป่วยนอกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value for baseline trend เท่ากับ 0.042) ลดลงอยู่ที่ 890.42 บาท ต่อเดือน (95% CI: -1,125.589 ถึง -655 .257)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5929
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons