Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5932
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการของศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
Other Titles: Factors affecting success management of the community rice center in Chang Ming Sub-district, Phanna Nikhom District, Sukon Nakhon Province
Authors: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติพงศ์ รื่นงาม, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ศูนย์ข้าวชุมชน--ไทย--สกลนคร--การบริหาร.
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพด้านสังคมและเศรษฐกิจของคณะกรรมการ และสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร 2) สภาพการบริหารจัดการของ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการของศูนย์ข้าวชุมชนตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพด้านสังคมและเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.50 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.71 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 71.20 จบประถมศึกษา (ป.4 - ป.6) และร้อยละ 90.40 ไม่มีตำแหน่งใดๆในชุมชน นอกจากเป็นสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนแล้วยังเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่เพาะปลูกข้าวเฉลี่ย 15.08 ไร่/ครัวเรือน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.50 คน อาชีพเสริมได้แก่ รับจ้างแรงงาน ค้าขาย 2) สภาพการบริหารจัดการของศูนย์ พบว่า มีการเลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่ม การบริหารกลุ่มมีระบบ มีการบริหารด้านการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าว ดังนี้ พื้นที่แปลงพันธุ์ของสมาชิกเหมาะสม มีการเตรียมดินก่อนปลูก มีการตากเมล็ด มีการตัดพันธุ์ปนเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่จำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลนครและเกษตรกรในชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่ม มีการจัดสรรทุนเพื่อการเรียนรู้ มีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ โดยกลุ่ม มีถุงบรรจุเมล็ดพันธุ์ และมีวิธีการเก็บรักษา กองทุนมีการบริหารเป็นระบบและมีการตรวจสอบ 3) ปัจจัย ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการของศูนย์ข้าวชุมชนตำบลช้างมิ่ง ประกอบด้วยปัจจัยภายใน ได้แก่ ด้านผู้นำ ด้านสมาชิก ด้านการผลิต ด้านกองทุนหมุนเวียน ด้านการเรียนรู้ และด้านตัวบุคคล ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายการบริหารประเทศ ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของจังหวัด การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ สภาพแวดล้อม ปัจจัยการผลิต และตลาด
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5932
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153707.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons