กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5947
ชื่อเรื่อง: การจัดการความรู้ของกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Knowledge management of the Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์กลิน เคลือบทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
กองทัพเรือ
การบริหารองค์ความรู้
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการแนวคิดและกระบวนการจัดการ ความรู้ สำหรับนำมาประยุกต์ใช้ในกองเรือยุทธการ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ ในกองเรือยุทธการ และ 3) แสวงหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในกองเรือ ยุทธการ การวิจัย ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม ซึ่งเป็น การทำวิจัยเชิงปริมาณ และการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ควบคู่กันไป เป็นการวิจัยเชิงสำรวจด้วยการใช้ แบบสอบถาม ซึ่งสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธแบบเพียร์สัน และการสัมภาษณ์เจาะลึก ซึ่งใช้การวิเคราะห์เนี้อหา การ วิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดผสมผสานระหว่างตัวแบบของ ไมเคิล มาร์ควอร์ท เจย์ ไลโบวิทซ์ บริษัท ซีร็อกซ์ คอร์ ปอเรชั่น ประพนธ์ ผาสุขยืด และวิจารณ์ พานิช ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักการ แนวคิด และกระบวนการจัดการความรู้ ที่เหมาะสำหรับ นำมาประยุกต์ใชัในกองเรือยุทธการ ประกอบด้วย การวางแผนการจัดการความรู้ การระบุองค์ ความรู้ การค้นหาความรู้ การสร้างและพัฒนาความรู้ การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ การนำความรู้ไป ใช้ประโยชน์ และการประเมินผลในการจัดการความรู้ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ใน กองเรือยุทธการ คือ การกำหนดกลยุทธขององค์การ การจัดโครงสร้างการบังคับบัญชา การมีทักษะ และความรู้ของบุคคลในองค์การ ความร่วมมือจากทุกระดับในองค์การ การประสานงานและการ สื่อสาร บรรยากาศในองค์การ กระบวนการจัดการความรู้การให้รางวัลและการจูงใจภาวะผู้นำของ ผู้บริหาร กฎระเบียบข้อบังคับ รูปแบบการทำงานในหน้าที่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ทรัพยากรและงบประมาณ 3) แนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในกองเรือยุทธการ คือจะต้อง ตั้งเป้าเหมายในการจัดการความรู้ให้ มุ่งพัฒนาคน มุ่งพัฒนางาน และมุ่งพัฒนาองค์การไป เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยจะต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยในทุกๆ ด้านไปพร้อมๆ กัน มีข้อเสนอแนะคือ ควรจัดตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ เพื่อทำงานร่วมกันระหว่าง หน่วย ผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และควรจัดการอบรมด้านการจัดการความรู้ให้กับกำลังพล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5947
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108686.pdfเอกสารฉบับเต็ม17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons