กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5973
ชื่อเรื่อง: การจัดการวัชพืชในไร่อ้อยของเกษตรกรตำบลวังไผ่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Weed management in sugarcane fields by farmers in Wang Phai Sub-district, Huai Krachao District, Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธารงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤตเมธ แตงวงษ์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: วัชพืช--การควบคุม.
เกษตรกร--ไทย--กาญจนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับชนิดวัชพืชและการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อยของเกษตรกร 3) วิธีการจัดการวัชพืชในไร่อ้อยของเกษตรกร และ 4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการวัชพืชในไร่อ้อยของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตาบลวังไผ่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 53.4 ปี มีพื้นที่ปลูกอ้อยเฉลี่ย 20.32 ไร่ต่อครัวเรือน โดยมีการปลูกอ้อยใหม่และอ้อยไว้ตอ เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกอ้อยเฉลี่ย 23.84 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้อ้อยพันธุ์ เค 92-80 และ เค 84-200 มีผลผลิตจากอ้อยปลูกใหม่และอ้อยไว้ตอเฉลี่ย 10.39 และ 5.91 ตันต่อไร่ มีรายได้จากการปลูกอ้อยปลูกใหม่และอ้อยไว้ตอเฉลี่ย 8,379 และ 4,695.44 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรทราบชนิดของวัชพืชและมีความรู้ในการจัดการวัชพืชในไร่อ้อยอยู่ในระดับมากที่สุด และเกษตรกรทราบถึงวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืชที่เกิดขึ้นในกระบวนการปลูกอ้อย วัชพืชที่เกษตรกรพบมากที่สุดในพื้นปลูกอ้อยที่ คือ ผักเบี้ยหิน หญ้าตีนนก หญ้าแพรก แห้วหมู และผักโขม 3) เกษตรกรมีการจัดการวัชพืชตั้งแต่การเตรียมแปลงก่อนปลูก โดยการใช้เครื่องจักรกลด้วยวิธีการไถดะ การไถแปร และการตากดิน การจัดการวัชพืชหลังปลูกโดยการใช้สารเคมีกาจัดวัชพืช การใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่อง และการใช้แรงงานคนในการกาจัดวัชพืชด้วยวิธี ถาก ตัด หรือขุด และการจัดการวัชพืชหลังการเก็บผลผลิต โดยการใช้มีสารเคมีกำจัดวัชพืช การใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่อง ในกรณีวัชพืชมีปริมาณไม่มาก จะใช้แรงงานคนในการจัดการวัชพืช 4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการวัชพืชอยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรส่วนใหญ่พบปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับ การส่งเสริมความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการใช้สารเคมีให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยไม่ทั่วถึง การใช้แรงงานคนในการกำจัดวัชพืชทาได้ล่าช้า และการไม่มีวัสดุคลุมดินเนื่องจากใช้วิธีการเผาอ้อยในการเก็บผลผลิต และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะในการจัดการวัชพืชคือ ไม่ควรเว้นพื้นที่ปลูกให้ว่าง เพราะจะทาให้วัชพืชเจริญเติบโตและลุกลาม เกษตรกรควรเอาใจใส่ในการดูแลอ้อยในช่วงแรก และควรมีการวางแผนในการจัดการวัชพืชให้ถูกช่วงเวลา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5973
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154681.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons